PMC Expert | กระบวนการลดความผิดพลาดด้วย FMEA
751
post-template-default,single,single-post,postid-751,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

กระบวนการลดความผิดพลาดด้วย FMEA

กระบวนการลดความผิดพลาดด้วย FMEA

การลดความผิดพลาดด้วย FMEA (Failure Mode and Effect Analysis )

FMEA ใช้สำหรับแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของการลดความเสี่ยง

    • – ใช้ประเมินความเสี่ยงทางเทคนิคที่อาจเกิดขึ้นจากความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
    • – การวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของความล้มเหลว
    • – การดำเนินการป้องกันและตรวจจับ
    • – การดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยง

วัตถุประสงค์และข้อจำกัด ของ FMEA

    • – การเพิ่มคุณภาพความน่าเชื่อถือความสามารถในการผลิตการบริการและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยานยนต์
    • – การลดต้นทุนการรับประกัน (Warranty Claim)
    • – เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
    • – เป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
    • – ลดการเปลี่ยนแปลงที่ล่าช้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
    • – เพื่อลดข้อบกพร่อง และของเสียระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
    • – เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ในบริษัท

ข้อจำกัด 

    • – พึ่งพาระดับความรู้ของทีมสรุปรายงานคุณภาพของ FMEA

 

 

ก่อนอื่นเลยที่เราจะแก้ไขปรับปรุงอะไรก็ตามเราควรที่จะช่วยกันทำช่วยกันปรับปรุงปัญหา นั้นก็คือเราควรที่จะต้องมีทีมเพื่อที่จะช่วยกันคิดช่วยกันทำ  เมื่อมีทีมเพื่อไม่ให้เกิดคำถามว่า “เรียกกูมาทำอะไรวะ” เราทุกคนในทีมก็ควรที่จะเข้าใจก่อนว่า ว่าเรากำลังจะทำอะไรอยู่ เช่น จะพัฒนา หรือ ปรับปรุงกระบวนการได้ ผลิตภัณฑ์ / กระบวนการใดจะรวมหรือจะไม่รวมในโครงการ PFMEA

    • – การระบุโครงการ
    • – แผนโครงการ: (5T)
    • – การระบุ FMEA พื้นฐานพร้อมบทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned) ควรนำปัญหาที่เคยมีประสบการณ์มาเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะพัฒนา หรือ ปรับปรุงกระบวนการได้ ผลิตภัณฑ์ / กระบวนการใหม่

เราสามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Ts สำหรับการกำหนดแผนโครงการ เพื่อใช้ในการกำหนดการวางแผนเพื่อให้ทีมเข้าใจตรงกัน

5Ts

    • – FMEA Team: ทีม FMEA: ใครต้องเป็นคนในทีม
    • – FMEA Timing: เวลา FMEA: เมื่อถึงเวลานี้
    • – FMEA Intent: เจตนา FMEA: ทำไมเราอยู่ที่นี่?
    • – FMEA Tools: เครื่องมือ FMEA: เราจะทำการวิเคราะห์ได้อย่างไร
    • – FMEA Task: งาน FMEA: ต้องทำงานอะไร?

การกำหนดทีม การวางแผน การทำให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน  การเตรียมการเหล่านิ้คือ (Planning and Preparation)

สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือเราต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่เราต้องการจะแก้ไข หรือจะค้นหาสิ่งที่บกพร่องอะไรก่อนนั้นเอง ซึ่งก็คือ (Structure Analysis)

หลังจากนั้นเราก็ต้องรู้ว่าเราต้องการอะไร ความต้องการหรือฟังค์ชันการทำงานมันเป็นอย่างไร เช่นทำไปเพื่ออะไร อะไรคือข้อกำหนดเกี่ยวกับฟังก์ชัน / ความต้องการที่ตั้งใจไว้ของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ซึ่งก็คือ (Function Analysis)

เมื่อเรารู้สิ่งที่ต้องการ ถ้าเราทำอะไรบ้างอย่างซึ่งสิ่งที่ทำอยู่ไม่ได้ตามสิ่งที่ต้องการ หรือส่วนที่แตกต่างระหว่างความคาดหวังกับผลลัพท์อันนั้นก็คือปัญหา แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตามภาษา FMEA  เราเรียกมันว่า (Failure Mode) หรือความล้มเหลว

Failure Mode: ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถส่งมอบหรือฟังก์ชันที่ต้องการได้ การกำหนดความล้มเหลว อาจเกิดขึ้นจริงหรือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดขึ้น

Failure Effect ผลกระทบความบกพร่องก็คือคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์หรือปัญหานั้นๆ นั้นเองซึ่งถ้าเป็นการวิเคราะห์ FMEA ในอุตาสาหกรรมยานยนต์ก็อาจจะแบ่งผู้รับผลกระทบเป็น

    • – ผู้ผลิต
    • – โรงงานที่ส่งมอบ
    • – ผู้ใช้รถ

ผลกระทบของผู้ใช้รถอาจมีได้เช่น 

    • – เสียงดัง
    • – ควบคุมรถยนต์ยาก
    • – กลิ่นเหม็น
    • – สภาพภายนอกไม่ดี
    • – น้ำรั่ว
    • – ผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้
    • – พื้นผิวไม่สวย  เฉดสีไม่ได้

Failure Cause สาเหตุที่ล้มเหลว ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดความล้มเหลว 5M1E, 4M1E

    • – Man: ผู้ปฏิบัติงานด้านการตั้งค่าผู้ปฏิบัติงานเครื่องช่างเทคนิคการบำรุง
    • – Machine/ Equipment: หุ่นยนต์, เครื่องฉีดแม่พิมพ์, สายพานลำเลียง, อุปกรณ์ตรวจสอบ Method คู่มือการปรับตั้งเครื่องจักร
    • – Material/ Indirect material น้ำมันเครื่อง, จาระบีในการติดตั้ง, ความเข้มข้นของสารเคมี
    • – Environment เช่นความร้อนฝุ่นการปนเปื้อนแสงเสียง ฯลฯ

ซึ่งการกำหนดความล้มเหลว ผลกระทบ รวมถึงการระบุสาเหตุของความล้มเหลว เป็นการระบุความเสี่ยง (Risk Analysis)

เมื่อเราทำการวิเคราะห์หาสาเหตุในแต่ละกระบวนการ และทำการแก้ไขที่สาเหตุ (Preventive action) รวมถึงหามาตรการการตรวจจับปัญหา หรือ สาเหตุ (Detection action) ก็จะทำให้ปัญหาต่างๆ ค่อยๆหมดไป ซึ่งก็คือ (Optimization)

ถ้าแก้ไขแล้วดีก็น่าจะจดจำไว้ อันไหนไม่ดีก็ควรจะเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ปัญหานั้นเกิดซ้ำ ซึ่งก็คือ (Result Documentation)

 

 

Sukhum Rattanasereekiat

Quality Management Trainer and Consultant.

www.pmcexpert.com

#pmcexpert.co.th