PMC Expert | pmc-admin
3
archive,paged,author,author-pmc-admin,author-3,paged-5,author-paged-5,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Author: pmc-admin

 หัวข้ออบรม เคล็ดลับการบริหารงาน QA/QC อย่างมืออาชีพตามมาตรฐาน ISO9001:2015   หัวข้อหลักสูตรอบรม: หลักการบริหารงานคุณภาพ และวงจร PDCA, ความแตกต่างระหว่าง QA กับ QC การกำหนด และความสัมพันธ์ของบริบทองค์กร นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์คุณภาพ การเฝ้าติดตาม การควบคุมการเปลี่ยนแปลง (Change control), รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านวิศวกรรม Engineering change. การจัดทำ Process Flow แผนการไหลของกระบวนการ และ แผนการควบคุมคุณภาพ Control Plan เทคนิคการเลือกเครื่องมือวัด และการควบคุมเครื่องมือวัด รวมถึงการสอบเทียบ เทคนิคการการจัดทำและควบคุมชิ้นงานตัวอย่าง Limit Sample, การควบคุมระบบตัวกั้นโง่ Pokayoke. รายละเอียดการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการ เทคนิคการสุ่มงาน AQL. การตรวจสอบงาน การรับเข้าวัตถุดิบ การตรวจสอบระหว่างกระบวนการ การตรวจสอบงานก่อนการส่งมอบ การควบคุมงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนด NC, การบ่งชี้งานและการทวนสอบกลับ, การควบคุมงานซ่อมแซม (Rework) การจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า (Problem...

OKRs ความหมายของ OKRs ย่อมาจาก Objective + Key Results Objectives คือวัตถุประสงค์หลัก เป็นการบอกจุดมุ่งหมายของหน่วยงาน Key Results คือผลลัพธ์หลัก เป็นการบอกว่าจะทราบได้อย่างไรว่าเราบรรลุจุดมุ่งหมายนั้น   Key Result Key results เป็นการวัดว่า Objective ที่เราสร้างขึ้นแต่ละข้อนั้น จะทราบได้อย่างไรว่าเราประสบความสำเร็จ Key results จะเป็นตัววัดในเชิงปริมาณ ที่มีการกำหนดค่าเป้าหมายชัดเจน   การสร้าง Key Results (OKR) : Key Result  อาจจะวัดผลที่ Milestone  หรือ  Outcome  ก็ได้ Milestone Key results อาจจะเป็นการวัด Milestone Objective คือ จัดทำ Website เพื่อสนับสนุนการขาย Key...

JD (Job Description) คืออะไร   JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด   ส่วนประกอบที่อยู่ใน JD – ข้อมูลทั่วไป (Job Title): ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย ชื่อตำแหน่งงาน แผนก ฝ่าย ผู้บังคับบัญชา ระดับตำแหน่งเป็นต้น – วัตถุประสงค์ของตำแหน่งงาน หรือ ที่เรียกว่า Job Purpose   ตัวอย่าง Job Tittle   – ความรับผิดชอบหลัก (Key Responsibilities) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนที่บรรยายลักษณะงานหลักที่จะต้องทำหรือหน้าที่ความรับผิดชอบที่ดำเนินงาน ซึ่งในบ้างกรณีก็อาจจะแบ่งส่วนงานนี้ออกเป็น 3 ส่วนคือ ความรับผิดชอบหลัก (Key Responsibilities), Key Activities คือกิจกรรมหลักที่ต้องทำ...

QC vs QA vs QS ความแตกต่างระหว่าง  QC, QA  และ QS   การควบคุมคุณภาพ (Quality Control: QC) ตามนิยามของ ISO 8402: 1994 "Quality Control is the operational techniques and activities that are used to fulfil requirements for quality"การควบคุมคุณภาพ (Quality Control: QC)  หมายถึง การควบคุมคุณภาพคือเทคนิคการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพ Quality Control (QC) การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Standard) เพื่อความถูกต้องหรือสอดคล้องกับมาตรฐาน หรือ สเปค  ดังนั้นเราจะเห็นว่าแผนก  QC ...

การบริหารเครื่องมือการผลิต และเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิต การทดสอบและการตรวจสอบ   การบริหารและการดูแลเครื่องมือที่ช่วยในการผลิต (Production Tooling) มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการดูแลรักษาเครื่องจักรที่ในในการผลิต เพราะว่าถ้าเครื่องมือไม่พร้อมใช้งานก็อาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตชิ้นงานส่งงานให้กับลูกค้า ซื่งอาจจะส่งผลต่อการส่งมอบ หรืออาจทำให้ลูกค้าหยุดการผลิตได้  หรือถ้าเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอก็อาจจะทำให้เกิดชิ้นงานเสีย หรือ ความแม่นยำของงานไม่ได้ตามสเปคของลูกค้าที่กำหนด สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบและตรวจสอบก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะถ้าไม่มีการดูแลที่ดีพอก็อาจจะทำให้ผลการวัดผลิตภัณฑ์ได้ค่าไม่ถูกต้องหรือ ค่าที่ได้ในแต่ละครั้งมีความคาดเคลื่อนจากค่าจริง (Bias) ดังนั้นทางองค์กรควรจะต้องมีระบบการดูแลรักษาเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต การทดสอบและตรวจสอบ   เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตในการผลิตคืออะไร ? คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สอดคล้องตามข้อกำหนดของลูกค้า เช่น กระบวนการ:  Plastic injection เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Mould, กระบวนการ:  Press เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Die, กระบวนการ:  Cutting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ ใบมีด, กระบวนการ:  Machining เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Cutting tool, กระบวนการ:  Aluminum Die Casting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Mould, กระบวนการ:  งานหล่อ  Metal Casting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Pattern, กระบวนการ:  Painting...

ในฐานะ  QMR  หรือ เป็นคนที่ต้องดูระบบบริหารงานคุณภาพจะต้องทบทวนเอกสารอะไรบ้าง หรือจะต้องเอกสารอะไรเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ COVID 19 บ้าง?   สำหรับเอกสารที่อาจจะต้องทบทวนเพิ่มเติมได้แก่ Context of the organization อาจจะต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับ  External issue เพราะว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่มาส่งผลกระทบต่อองค์กร ซึ่งสำหรับ External Issue หรือปัจจัยภายนอกอาจจะเป็นได้ทั้งอุปสรรค  และอาจจะเป็นโอกาสสำหรับบางองค์กร หรือบางธุรกิจ สำหรับหัวข้ออุปสรรค อาจจะเป็นหัวข้อเรื่องดังนี้ 1. การระบาดของ COVID 19 อาจจะส่งผลกระทบกับยอดขาย ทำให้คำสั่งซื้อลดลง   ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ดังนั้นทางองค์กรเองอาจจะต้องหาวิธีการอื่นๆในการเพิ่มยอดขาย เช่น 1.1  อาจจะต้องหาลูกค้าใหม่หรือเพื่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้นบางลูกค้าที่องค์กรยังไม่เคยติดต่อ ทางตัวแทนขายก็จะต้องหากลยุทธ์ในการขายหรือการตลาดเข้ามาช่วย เช่น 4P เป็นต้น 1.2หากลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เคยมีแต่ลูกค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ อาจจะต้องเพิ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร หรือเครื่องมือแพทย์มากขึ้น   1.3 หาผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเช่นเคยทำแต่โรงแรมก็มาเป็นร้านอาหารรวมถึงส่งอาหาร  Delivery เป็นต้น,  ธุรกิจ ทำตู้ไฟฟ้า  MDB  ขายก็มาทำเป็น  Turn...

ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล Efficiency VS Effectiveness   สำหรับข้อกำหนด  ISO9001: 2015  ได้มีการระบุให้ทางองค์กรมีการจัดตั้งวัตถุประสงค์คุณภาพ  บางครั้งในหลายๆองค์กรจะเรียกสั้นๆว่า  KPI. ซึ่งการจัดทำวัตถุประสงค์คุณภาพควรจัดตั้งทั้งการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในแต่ละกระบวนการ (Process)   ประสิทธิภาพ (Efficiency) กับ ประสิทธิผล (Effectiveness) ต่างกันอย่างไร ? ประสิทธิภาพ (Efficiency)  = Output/ Input x 100 ประสิทธิภาพจะเป็นการวัด งานที่เราทำได้เทียบกับทรัพยากรที่เราใส่เข้าไปหรือป้อนเข้าไป โดยส่วนใหญ่ประสิทธิภาพจะเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการ Organization Need ประสิทธิผล (Effectiveness) = Outcome/Input x 100 ประสิทธิผลจะวัดจากผลลัพท์ที่ได้เทียบกับทรัพยากรที่เราใส่เข้าไปหรือป้อนเข้าไป สำหรับประสิทธิผลส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ  Customer Need.   ถ้าดูจากสูตร หรือ นิยามอาจจะยังเข้าใจยากอยู่เรามาดูตัวอย่างกัน เช่นเราเป็นเจ้าของร้านทำเค้ก ถ้าเราอยากจะวัดผลการทำงานพนักงานเราจะวัดหัวข้ออะไรบ้าง สิ่งที่เราก็ต้องการจากการทำงาน ก็คืออยากได้พนักงานที่แต่งหน้าเค้กได้เร็ว  และ ก็แต่งหน้าเค้กสวยด้วย   ดังนั้นถ้าเราจับเวลามาตรฐานการทำงาน โดยปกติพนักงานแต่งหน้าเค้กต้องแต่งหน้าเค้กได้วันละ 100 ชิ้นต่อวัน รับรับพนักงานใหม่มาใหม่หนึ่งคน  พนักงานใหม่สามารถแต่งหน้าเค้กได้ 80 ...

1. Konnyaku Stone Konnyaku Stone เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก แต่มีความสำคัญที่ใช้ในระบบการผลิตของโตโยต้าซึ่งใช้ในการทำให้แผงตัวถังเรียบก่อนที่จะทาสีและกำจัดความไม่สมบูรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่รู้จักกันในชื่อ "ลิ้นปีศาจ" และขนาดเท่ากำปั้นหิน Konnyaku ไม่ได้เป็นหิน แต่อย่างใดจริงๆแล้วมันทำจากเรซินที่มีเม็ดทรายละเอียด เมื่อหินถูกปัดไปบนพื้นผิวโลหะความไม่สมบูรณ์ที่นูนขึ้นเล็กน้อยหรือรอยฝุ่นจะถูกปัดออกหรือทำให้เรียบออก ความสำคัญของพาเนลที่ราบรื่นอย่างสมบูรณ์นั้นมีความสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายการผลิตเช่นในร้านขายสี ก่อนที่แต่ละแผงจะถูกนำไปที่ร้านเชื่อม (ขั้นตอนต่อไปในกระบวนการผลิต) สมาชิกของโตโยต้าจะต้องลงนาม 2.Poka-Yoke (English: mistake-proofing): Fail safe devices in the production process that automatically stop the line in case of an error. ระบบการผลิตของโตโยต้ามุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพสูงสุดและกระบวนการที่ปราศจากข้อบกพร่อง นั่นคือแนวคิดเบื้องหลัง Poka-Yoke Poka-Yoke (ภาษาอังกฤษ: การพิสูจน์ความผิดพลาด): อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัยในกระบวนการผลิตที่หยุดสายโดยอัตโนมัติในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด Poka-Yoke เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตที่ช่วยให้สมาชิกโตโยต้าหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด (yokeru) (poka) โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อกำจัดข้อบกพร่องโดยการป้องกันแก้ไขหรือไฮไลต์ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น - ตัวอย่างเช่นจิ๊กที่มีชิ้นส่วนสำหรับการประมวลผลอาจมีการแก้ไขเพื่อให้พวกเขาเท่านั้นในการจัดเรียงที่ถูกต้อง...

  เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้น ผู้รับรองจะมีการออกใบรับรอง และให้แสดงเครื่องหมายรับรอง โดยในส่วนของประเทศไทยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ วิธีที่ 3 แบบที่ 5 จัดเป็นการรับรองคุณภาพโดยบุคคลที่ 3 และมีการทดสอบแบบของผลิตภัณฑ์ ประเมินระบบการควบคุมคุณภาพของ โรงงานที่ผลิต รวมทั้งมีการติดตามผลและได้ออกใบอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจาก สมอ. แล้วว่ามีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่กำหนด มีความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคาปัจจุบัน สมอ.ได้อนุญาตในแสดงเครื่องหมาย มอก.   1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ สมอ. กำหนดมาตรฐาน ของผลิตภัณฑ์นั้นไว้แล้วซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลัก ประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่า และเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารวัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น     2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไป ตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและ สังคม...

มาตรฐานการทำงาน (Standardized Work) คืออะไร Standardized Work (WI) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกแนวทางปฏิบัติงานที่ดีที่สุดในปัจจุบัน และจัดมาทำเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เมื่อมีการปรับปรุงการทำงานใหม่ ทางองค์กรควรต้องกลับมาทบทวนมาตรฐานการทำงานให้สอดคล้องกับการทำงานใหม่และให้แน่ใจว่ามาตรฐานใหม่กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการปรับปรุง ซึ่งบางครั้งเราจะได้ยินว่าเอกสารทำงานเป็นเอกสารมีชีวิต  (Living Document) Standardized Work สำหรับกระบวนการผลิตยังสามารถช่วยในการทำงานที่สำคัญ: 1. เป็นการกำหนดอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า  (กำหนด Lead time  ในการผลิต) 2. กำหนดลำดับการทำงานของผู้ปฏิบัติงานเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ในอัตราเวลาที่กำหนด  (Cycle time  ในแต่ละ Station) 3. มาตรฐานสินค้าคงคลังที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการผลิตมีสินค้าคงคบงที่ผลิตได้อย่างราบรื่น (Inventory stock) ประโยชน์ของงานที่ได้มาตรฐานคืออะไร   ประโยชน์หลักของงานมาตรฐานคือ: 1.กำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนในการทำงาน 2. สามารถใช้ในกการฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการ 3. ลดอุบัติเหตุอย่างบางข้อกำหนด เช่น   IATF16949  มีการระบุว่าจะต้องมีการกำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน หรือ กำหนดอุปกรณ์ที่จะต้องส่วมใสเพื่อความปลอดภัย PPE 4. พื้นฐานในการปรับปรุง 5.ลดความแปรปรวน 6.เพิ่มวินัยให้กับวัฒนธรรมการทำงาน 7.ส่งเสริมการแก้ปัญหา 8. เพิ่มการทำงานเป็นทีมทั่วทั้งองค์กร ตามข้อกำหนด IATF 8.5.1.2 มาตรฐานการทำงาน มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานไว้ดังต่อไปนี้ a) ได้ถูกสื่อสารไปยังพนักงานที่รับผิดชอบปฏิบัติงานและพนักงานเหล่านั้นมีความเข้าใจ (เช่นต้องมีการสอนงานให้กับพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับมาตรฐานนั้นๆเข้าใจขั้นตอนหรือกระบวนการที่ระบุไว้ในคู่มือการทำงาน) b) ชัดเจนอ่านออกได้ (ตัวหนังสืออ่านง่าย ถ้าเขียนด้วยลายมือต้องอ่านออก...