PMC Expert | Sukhum Rattanasereekiat
4
archive,paged,author,author-sukhumpmcexpert-com,author-4,paged-2,author-paged-2,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Author: Sukhum Rattanasereekiat

การตัดสินใจ  (Decision Making) เป็นกระบวนการของการเลือกโดยการระบุการตัดสินใจรวบรวมข้อมูลและประเมินผลการตัดสินใจทางเลือก การใช้กระบวนการตัดสินใจทีละขั้นตอนสามารถช่วยให้คุณทำการตัดสินใจอย่างรอบคอบและรอบคอบมากขึ้นโดยการจัดระเบียบข้อมูลที่เกี่ยวข้องและกำหนดทางเลือก   7 ขั้นตอนสำหรับการตัดสินใจ 1.ระบุการตัดสินใจ ขั้นตอนแรกในการตัดสินใจที่ถูกต้องคือการตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาสและตัดสินใจที่จะแก้ไข ระบุสาเหตุที่การตัดสินใจนี้สร้างความแตกต่างให้กับลูกค้าหรือเพื่อนพนักงานของคุณ 2.รวบรวมข้อมูล. ต่อไปก็ถึงเวลารวบรวมข้อมูลเพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ตามข้อเท็จจริงและข้อมูล สิ่งนี้จำเป็นต้องมีการตัดสินคุณค่าโดยกำหนดว่าข้อมูลใดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจพร้อมด้วยวิธีที่คุณจะได้รับ ถามตัวเองว่าคุณต้องรู้อะไรบ้างเพื่อที่จะทำการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้วหาคนที่ต้องการมีส่วนร่วม 3.ระบุทางเลือก เมื่อคุณมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาแล้วก็ถึงเวลาระบุวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่คุณมี เป็นไปได้ว่าคุณจะมีตัวเลือกที่แตกต่างกันเมื่อต้องตัดสินใจดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีตัวเลือกมากมาย วิธีนี้จะช่วยให้คุณทราบว่าแนวทางการดำเนินการใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบรรลุวัตถุประสงค์ 4.ชั่งน้ำหนักหลักฐาน ในขั้นตอนนี้คุณจะต้อง "ประเมินความเป็นไปได้การยอมรับและความปรารถนา" เพื่อทราบว่าทางเลือกใดดีที่สุดต้องสามารถชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียจากนั้นเลือกตัวเลือกที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงสุด อาจเป็นประโยชน์ในการค้นหาความเห็นที่เชื่อถือได้เพื่อให้ได้มุมมองใหม่เกี่ยวกับปัญหา บางครั้งเราสามารถใช้ QC New 7 Tools ที่เรียกว่า Priority Matrix มาให้คะแนนเพื่อจัดลำดับความสำคัญได้ 5.เลือกระหว่างทางเลือกอื่น เมื่อถึงเวลาที่จะตัดสินใจให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางที่คุณเลือก นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกทางเลือกต่างๆได้ในขณะนี้เมื่อคุณเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เริ่มปฏิบัติ. 6.ถัดไปคุณจะต้องสร้างแผนสำหรับการนำไปใช้ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการระบุทรัพยากรที่จำเป็นและได้รับการสนับสนุนจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย การทำให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมกับการตัดสินใจของคุณเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินการตามแผนของคุณอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นเตรียมพร้อมที่จะตอบคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น 7. ทบทวนการตัดสินใจของคุณ ขั้นตอนที่มักถูกมองข้าม แต่สำคัญในกระบวนการตัดสินใจคือการประเมินการตัดสินใจของคุณเพื่อประสิทธิภาพ ถามตัวเองว่าคุณทำอะไรได้ดีและจะปรับปรุงอะไรได้บ้างในครั้งต่อไป   Sukhum Rattanasereekiat Quality Management Trainer and Consultant. www.pmcexpert.com #pmcexpert.co.th   ที่มา...

มารู้จัก Lean Spare Part กัน. อะไหล่เป็นส่วนสำคัญของการบำรุงรักษาเครื่องจักร ผู้ผลิตควรมีชิ้นส่วนอะไหล่ที่จำเป็นอยู่ในมืออย่างน้อยทำให้มั่นใจได้ว่าจะอะไหล่สามารถซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาเครื่องจักรที่สำคัญ แต่การจัดการชิ้นส่วนอะไหล่มีมากกว่าการมีช่วงของชิ้นส่วนให้พร้อม เช่นการกำหนด min max ที่จำเป็น การตรวจเช็คจำนวน การให้มั่นใจว่ามีของตรงกับระบบ จัดเก็บหาง่าย สะดวก เช็คสต๊อกได้รวดเร็ว ถูกต้อง. เหมือนกับตัวอย่างในรูปจัดหมวดหมู่ ทำเป็นตู้ใส เพื่อหาของ และตรวจเช็คสต๊อกโดยไม่ต้องเปิดตู้ ลดเวลาในการเตรียมของเพื่อใช้ในการซ่อม ได้ทั้งเพิ่ม MTTR และลด MTTR. สุขุม รัตนเสรีเกียรติ ผู้ตรวจประเมิน และที่ปรึกษาระบบคุณภาพ #pmcexpert.co.th ...

มารู้จัก MTTR กัน. MTTR ระยะเวลาเฉลี่ยในการซ่อม เวลาตั้งเป้าหมายยิ่งตั้งค่าน้อยยิ่งดี การทำการซ่อมให้เร็วก็อาจจะได้จากประสบการณ์การซ่อม การเก็บข้อมูลประวัติเกี่ยวกับการซ่อม รวมถึงการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการซ่อม. เหมือนกับตัวอย่างจะเป็นตู้รถเข็น ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย การทำให้ตู้ใส เพิ่อให้มองเห็นตรวจเช็คอุปกรณ์ง่าย Mean time to repair (MTTR) is a basic measure of the maintainability of repairable items. It represents the average time required to repair a failed component or device.Expressed mathematically, it is the total corrective maintenance time for...

Statistical Process Control (SPC) ในวิดีโอนี้ เป็น Special Cause or Common Cause?     ในทางสถิติแล้วความผันแปรคือสิ่งปกติ Variation is Common. เช่น พี่น้อง เกิดมาจากพ่อแม่เดียวกันความสูงก็ไม่เท่าเทียมกัน ชิ้นงาน Machine กลึงออกมาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางก็ได้ไม่เท่ากันทุกตัว งานที่ฉีดพลาสติกออกมาจากเครื่องเดียวกัน ชั่งนำ้หนักก็หนักไม่เท่ากันทุกตัว   การที่ Output ได้ผลลัพท์ไม่เท่ากัน เนื่องจากในกระบวนการ(Input, Process)มีความผันแปรนั้นเอง อาจจะเกิดจากความผันแปรของ Man, Machine , Method, Material, Measurement, Environment ที่มีความผันแปร.   แต่ในทางสถิติแบ่งความผันแปรออกเป็น 2 แบบ คือ Common Cause และ Speical Cause   Common Cause คือ เป็นสาเหตุที่ทำให้ชิ้นงานแตกต่างกันเนื่องมาจาก สิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น...

องค์กรควรที่จะพัฒนาบุคคลากร ให้มี 4 คิด 1. การคิดเชิงระบบ (System Thinking) 2. การคิดบวก (Positive Thinking) 3. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) 4. การคิดอย่างมีเหตุผล (Logitcal Thinking) 1.การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วในองค์รวม การพัฒนาบุคคลากรให้มีระบบการคิดเชิงระบบ จะช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพ การทำงานต่างๆในภาพใหญ่ขององค์กรสอดคล้อง สัมพันธ์กันด้วยระบบที่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กันรวมเป็นหนึ่ง เดียวกัน การคิดเชิงระบบจะไม่มองเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่จะมองภาพใหญ่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นปัญหาระดับองค์กร แล้วแก้ปัญหาทั้งในภาพใหญ่และภาพย่อย เชื่อมโยง สร้างสรรค์และทำงานเป็นทีมอย่างเป็นระบบ แล้วสามารถพัฒนาต่อเป็น“องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)” แล้วต่อยอดเป็นองค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization) ได้ โดยการจะสร้างองค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization) นั้น จุดเริ่มต้นเริ่มจากตัวบุคคล...

Competency คืออะไร ? สมรรถนะ (Competency) หมายถึง ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จําเป็นในการ ปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสําเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม สรุป Competency หมายถึงสมรรถนะของคน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นพนักงานบัญชีจะต้องมีสมรรถนะ อะไรบ้าง ความรู้  เช่นต้องมึความรู้ บัญชีต้นทุน การคำนวนภาษี เป็นต้น ทักษะ ต้องมีทักษะด้านการคำนวน การคิดเลข คุณลักษณะ ต้องเป็นคนละเอียดรอบครอบ แล้วถ้าเป็นตำแหน่ง  Auditor IATF16949 จะต้องเป็นยังไงกันนะ? ความรู้  เช่นต้องมึความรู้ IATF16949 Requirement, ISO9001 Requirement, Core Tools, Risk,...

วันนี้เราจะมาทำความรู้จากกับ Turtle Digram โดยเฉพาะขาเต่าที่เรียกว่า What rsults หรือ How many.   จริงๆแล้วมันคือ Quality objective ในข้อกหนด ISO นั้นเอง ข้อกำหนด 5.1.1.2 ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ ผู้บริหารระดับสูง ต้องทบทวนกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์และกระบวนการสนับสนุน เพื่อประเมินและปรับปรุงประสิทธิผล และประสิทธิภาพของกระบวนการเหล่านั้น ผลของกิจกรรมทบทวนกระบวนการต้องรวมเข้าไปเป็นข้อมูลสำหรับการทบทวนของฝ่ายบริหาร (ดูข้อ 9.3.2.1.)     สำหรับการวัดผลวัดเราต้องวัดทั้งประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลของกระบวนการแต่ไม่ได้บังคับให้วัดกระบวนการย่อย แล้วแต่องค์กรเช่นกระบวนการทบทวนข้อกำหนดลูกค้า กระบวนการย่อย 1.รับใบให้เสนอราคาจากลูกค้า 2.ทบทวนความเป็นไปได้ 3.ทำใบเสนอราคา 4.ได้รับการตอบรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แต่กรณีเป้าหมายไม่บรรลุผลให้ทบทวนกระบวนการและกระบวนการย่อยมาสาเหตุมาจากกระบวนการใด   การวัดประสิทธิผล ลูกค้าภายใน และ ลูกค้าภายนอกได้รับสิ่งที่ต้องการจากกระบวนการ (Internal or External needs are met.) จัดส่งได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ ของเสียไม่เกินเป้าที่ลูกค้ากำหนด Customer PPM ส่งใบเสนอราคาได้ตามวันที่ลูกค้ากำหนด ส่ง PPAP ได้ตามเวลา สอบเทียบได้ตามเวลาที่กำหนด   มุ่งแน้นความพึ่งพอใจของลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Focus on customer or interested parties satisfaction)     การวัดประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพท์ที่ได้ เทียบกับทรัพยากรที่ใช้ (Relationship...

อะไรคือ SIPOC?   SIPOC คล้ายกับ Process Approach ใน ISO. ซึ่งใน ISO จะให้ทางองค์กรกำหนดว่าองค์กรมีกระบวนการอะไรบ้าง กระบวนการแต่ละกระบวนการเชื่อมโยงกันอย่างไร กระบวนการไหนมาก่อนหลัง มองเป็น Input Process Output ทำความเชื่อมโยงกันทุกกระบวนการ (Business flow หรือ Business map) หลังจากนั้นให้เรากำหนดเจ้าของกระบวนการ คือ Process owner. ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะแต่ละบริษัทมีโครงสร้างความซับซ้อนขององค์กรไม่เหมือนกันนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น บางองค์กรให้ทางจัดซื้อวางแผนวัตถุดิบ หรือ ให้ทางวางแผน วางแผนวัตถุดิบ หรือ ให้ทางคลังวัตถุดิบวางแผนวัตถุดิบ ซึ่งได้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับองค์กร กระบวนการก็เหมือนกันคือวางแผนวัตถุดิบ แต่เจ้าของกระบวนการอาจจะต่างกันในแต่ละกระบวนการ แต่ SIPOC จะมองเป็น Supplier, Input, process, output, Customer...

Employee Engagement จากที่ได้ไปให้คำปรึกษาในหลายๆที่ ก็มีคำถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานเรารักองค์กร? พนักงานเราคิดว่าเขามีส่วนร่วมในการทำงานและปรับปรุงองค์กร? จะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานอยากจะทำงานกับบริษัท? อาจจะมีหลายเครื่องมือท่ีจะค้นหาคำตอบเหล่านี้ หนึ่งในนั้นที่ผมชอบคือ แบบสอบถามโดยใช้คำถามตามแนวทาง Gallup 's Q12.   Gallup 's Q12  Employee Engagement Findings. ฉันรู้ดีว่าบริษัท คาดหวังอะไรจากงานที่ฉันทำ ฉันมีเครื่องไม้เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานซึ่งช่วยให้ฉันทำงานได้ผลดี ในที่ทำงาน ฉันมีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ฉันทำได้ดีที่สุดทุกวัน ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาฉันได้รับการชื่นชม หรือ จากการทำงานที่ดี หัวหน้าของฉันหรือเพื่อนร่วมงาน แสดงความห่วงใย ใส่ใจในตัวฉัน มีคนในที่ทำงานกระตุ้นและส่งเสริมให้ฉันมีการพัฒนา ในที่ทำงาน ความคิดเห็นของฉันได้รับการยอมรับ ภารกิจและเป้าหมายของบริษัททำให้ฉั้นรู้สึกว่างานที่ฉันทำอยู่นั้นสำคัญ เพื่อนร่วมงานของฉันมุ่งมั่น ทุ่มเทเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ฉันมีเพื่อนที่ดีที่สุดในที่ทำงาน ในช่วง 6  เดือนที่ผ่านมา มีคนที่ทำงานพูดคุยกับฉัน เรื่องความก้าวหน้าของฉัน ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานี้ ฉันมีโอกาสได้เรียนรู้ และเติบโตในงาน คำถามเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรทราบว่าพนักงานมีความคิดเห็นอย่างไรกับองค์กร สิ่งที่องค์กรยังขาดอยู่คือเรื่องอะไร ซึ่งจะทำให้เราสามารถนำมาปรับปรุงองค์กรให้พัฒนาขึ้นได้ต่อไป   สุขุม...

Kaizen คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยทุกคนมีส่วนร่วม หมายถึง การทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมทีละเล็กทีละน้อย เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคนิคไม่ซับซ้อน ทุกคนสามารถทำได้ โดยแน้นหลักการ เลิก ลด เปลี่ยน 1. Easy ง่าย สะดวก รวดเร็ว เน้นการปรับปรุงง่ายๆ เห็นผลรวดเร็ว 2. Economy ประหยัด แน้นการปรับปรุงที่ไม่ต้องลงทุนหรือ ใช้จ่ายสูง 3. Every Time ทำได้ตลอดเวลา เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องเดียวกันสามารถปรับปรุง ได้หลายๆครั้ง หรือ ปรับปรุงต่อยอดจากของเดิมไม่มีที่สิ้นสุด 4. Every Level ทุกคนในองค์กร และทุกระดับสามารถที่จะปรับปรุงได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะหาอุปสรรคในการทำงาน และ ปรับปรุงเพื่อให้การทำงานง่ายขึ้นสะดวกขึ้น 5. Every Process ทำได้ทุกกระบวนการ บางองค์กรแน้นทำที่ผลิต แต่จริงๆแล้วสามารถทำได้ทุกแผนก ทั้งหน่วยงานผลิต และหน่วยงานสนับสนุน 6. Efficiency การทำการปรับปรุงจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน...