12 Jul Bottleneck Analysis
คอขวด (Bottleneck)คืออะไร
คอขวด (หรือข้อ จำกัด ) ในห่วงโซ่อุปทานหมายถึงทรัพยากรที่ใช้เวลานานที่สุดในการดำเนินงาน
ขอยกตัวอย่างเช่น เมื่อไปวิ่ง City Run ก็จะวิ่งกันไปเป็นกลุ่มๆกับเพื่อนๆ คอขวดหมายถึงสมาชิกที่วิ่งช้าที่สุดของกลุ่ม สมาชิกนั้นสามารถกำหนดความเร็วของทั้งกลุ่มได้ เช่นเดียวกันกับกระบวนการในการผลิต หากส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานช้าโดยไม่จำเป็นก็สามารถลดความเร็วและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตทั้งหมดได้
เป้าหมายของการวิเคราะห์คอขวด?
เป้าหมายของการวิเคราะห์คอขวดคือการกำหนดส่วนที่ช้าที่สุดของกระบวนการผลิตจากนั้นหาวิธีการเพิ่มความเร็ว กระบวนการนี้มีค่าใช้จ่ายสูง แต่มักจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไร การเพิกเฉยต่อปัญหาคอขวดอาจมีค่าใช้จ่ายสูงมากกว่า เกิดความสูญเปล่าหรือทำให้ส่งงานลูกค้าไม่ทันเวลา
การวิเคราะห์คอขวดควรดำเนินการเมื่อใด เมื่อผู้จัดการหรือผู้ประกอบการสงสัยว่ากระบวนการผลิตใช้เวลานานเกินไป ณ จุดนี้ผู้จัดการจะพยายามกำหนดตำแหน่งที่เกิดปัญหาคอขวด
ตัวอย่างของ Takt Time? นี่คือตัวอย่าง:
เวลาทั้งหมด: 8 ชม. X 60 นาที = 480 นาที
พัก: 50 นาที
เวลาที่มีอยู่: 430 นาที
ความต้องการของลูกค้าใน 8 ชั่วโมง: 100 ชิ้น
เวลา Takt: 430/100 = 4.3 นาที = 258 วินาที
ถ้าเรา Line การประกอบชิ้นงานซึ่ง มีอยู่ 3 Process ดังนี้
Process การประกอบ 1 : cycle time = 200 min,
Process การประกอบ 2: cycle time = 300 min ,
Process ที่ 3 (Visual inspection): cycle time =250 min.
เราจะไม่สามารถผลิตงานทัน เพราะ Line การประกอบเราจะใช้เวลาเท่ากับกระบวนการที่นานที่สุด คือ 300 นาที (Bottleneck)
ดังนั้นเราจะต้องปรับปรุงที่กระบวนการการประกอบ 2 เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น เช่นเพิ่มคนในการประกอบชิ้นงาน เพื่อให้แบ่งงานการประกอบ หรือ ต้องจัดขั้นตอนใหม่ให้คนที่ทำงานประกอบ 1 มาช่วยประกอบงานบ้างส่วนของคนที่ 2
ถ้าเพิ่มคนกระบวนในการประกอบ 2 เป็น 2 คนถ้าเวลาในการทำงานใหม่ = 150 min. เราก็จะผลิตงานได้ทันตามความต้องการลูกค้า
เพราะ Cycle time < Takt time (Cycle time = 250 min < Takt time 258 min)
ผู้เขียน
สุขุม รัตนเสรีเกียรติ
ที่ปรึกษาระบบบริหารงานคุณภาพ