PMC Expert | Articles
20
archive,paged,category,category-articles,category-20,paged-4,category-paged-4,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Articles

“PERMA model” หลักการที่ช่วยเติมเต็มความสุขในชีวิต วันนี้ได้มีโอกาสมาเรียนเรื่อง PERMA model กับ พ.ญ. จิราภรณ์ อรุณากูร (หมอโอ๋) “เลี้ยงลูกนอกบ้าน  ซึ่งมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ PERMA  model ทฎษฎีเกี่ยวกับหลักการที่ช่วยเติมเต็มความสุขในชีวิต Dr.Martin Seligman ผู้ริเริ่ม positive psychology หรือจิตวิทยาเชิงบวก ได้พัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้หลักการในการนำพาชีวิตไปสู่ความสุข ความหมาย และการเติมเต็มในชีวิต PERMA ซึ่งมีทั้งหมด 5 ข้อ P - Positive emotion อารมณ์ดี ชีวีตมีสุข การมีอารมณ์ในแง่บวก มองโลกในแง่ดี   สำหรับวันนี้ที่เข้าอบรมในช่วงแรกที่มีการทำ  work shop มีการสอบถามผู้เข้าสัมมนาว่าเมื่อลูกโตขึ้นต้องการอะไรหรือคาดหวังอะไรจากลูกบ้าง ไม่มีคนไหนตอบว่าอยากให้ลูกเรียนเก่งๆ หรืออยากให้ลูกเป็นหมอ  แต่ส่วนใหญ่ตอบว่าคล้ายๆกันว่าอยากให้ลูกเติบโตมาอย่างมีความสุข  สามารถแก้สถาณการณ์เอาตัวรอดได้ เป็นต้น  เมื่อถามต่อว่าเมื่อลูกเติบโตไปแล้วอยากให้เขาสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขนั้น ลูกเราจะต้องมีความคิด หรือ พฤติกรรมอย่างไร หนึ่งในคำตอบที่ซ้ำๆกันก็คือ...

OKRs ความหมายของ OKRs ย่อมาจาก Objective + Key Results Objectives คือวัตถุประสงค์หลัก เป็นการบอกจุดมุ่งหมายของหน่วยงาน Key Results คือผลลัพธ์หลัก เป็นการบอกว่าจะทราบได้อย่างไรว่าเราบรรลุจุดมุ่งหมายนั้น   Key Result Key results เป็นการวัดว่า Objective ที่เราสร้างขึ้นแต่ละข้อนั้น จะทราบได้อย่างไรว่าเราประสบความสำเร็จ Key results จะเป็นตัววัดในเชิงปริมาณ ที่มีการกำหนดค่าเป้าหมายชัดเจน   การสร้าง Key Results (OKR) : Key Result  อาจจะวัดผลที่ Milestone  หรือ  Outcome  ก็ได้ Milestone Key results อาจจะเป็นการวัด Milestone Objective คือ จัดทำ Website เพื่อสนับสนุนการขาย Key...

JD (Job Description) คืออะไร   JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด   ส่วนประกอบที่อยู่ใน JD – ข้อมูลทั่วไป (Job Title): ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย ชื่อตำแหน่งงาน แผนก ฝ่าย ผู้บังคับบัญชา ระดับตำแหน่งเป็นต้น – วัตถุประสงค์ของตำแหน่งงาน หรือ ที่เรียกว่า Job Purpose   ตัวอย่าง Job Tittle   – ความรับผิดชอบหลัก (Key Responsibilities) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนที่บรรยายลักษณะงานหลักที่จะต้องทำหรือหน้าที่ความรับผิดชอบที่ดำเนินงาน ซึ่งในบ้างกรณีก็อาจจะแบ่งส่วนงานนี้ออกเป็น 3 ส่วนคือ ความรับผิดชอบหลัก (Key Responsibilities), Key Activities คือกิจกรรมหลักที่ต้องทำ...

QC vs QA vs QS ความแตกต่างระหว่าง  QC, QA  และ QS   การควบคุมคุณภาพ (Quality Control: QC) ตามนิยามของ ISO 8402: 1994 "Quality Control is the operational techniques and activities that are used to fulfil requirements for quality"การควบคุมคุณภาพ (Quality Control: QC)  หมายถึง การควบคุมคุณภาพคือเทคนิคการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพ Quality Control (QC) การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Standard) เพื่อความถูกต้องหรือสอดคล้องกับมาตรฐาน หรือ สเปค  ดังนั้นเราจะเห็นว่าแผนก  QC ...

การบริหารเครื่องมือการผลิต และเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิต การทดสอบและการตรวจสอบ   การบริหารและการดูแลเครื่องมือที่ช่วยในการผลิต (Production Tooling) มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการดูแลรักษาเครื่องจักรที่ในในการผลิต เพราะว่าถ้าเครื่องมือไม่พร้อมใช้งานก็อาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตชิ้นงานส่งงานให้กับลูกค้า ซื่งอาจจะส่งผลต่อการส่งมอบ หรืออาจทำให้ลูกค้าหยุดการผลิตได้  หรือถ้าเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอก็อาจจะทำให้เกิดชิ้นงานเสีย หรือ ความแม่นยำของงานไม่ได้ตามสเปคของลูกค้าที่กำหนด สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบและตรวจสอบก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะถ้าไม่มีการดูแลที่ดีพอก็อาจจะทำให้ผลการวัดผลิตภัณฑ์ได้ค่าไม่ถูกต้องหรือ ค่าที่ได้ในแต่ละครั้งมีความคาดเคลื่อนจากค่าจริง (Bias) ดังนั้นทางองค์กรควรจะต้องมีระบบการดูแลรักษาเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต การทดสอบและตรวจสอบ   เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตในการผลิตคืออะไร ? คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สอดคล้องตามข้อกำหนดของลูกค้า เช่น กระบวนการ:  Plastic injection เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Mould, กระบวนการ:  Press เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Die, กระบวนการ:  Cutting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ ใบมีด, กระบวนการ:  Machining เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Cutting tool, กระบวนการ:  Aluminum Die Casting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Mould, กระบวนการ:  งานหล่อ  Metal Casting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Pattern, กระบวนการ:  Painting...

ในฐานะ  QMR  หรือ เป็นคนที่ต้องดูระบบบริหารงานคุณภาพจะต้องทบทวนเอกสารอะไรบ้าง หรือจะต้องเอกสารอะไรเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ COVID 19 บ้าง?   สำหรับเอกสารที่อาจจะต้องทบทวนเพิ่มเติมได้แก่ Context of the organization อาจจะต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับ  External issue เพราะว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่มาส่งผลกระทบต่อองค์กร ซึ่งสำหรับ External Issue หรือปัจจัยภายนอกอาจจะเป็นได้ทั้งอุปสรรค  และอาจจะเป็นโอกาสสำหรับบางองค์กร หรือบางธุรกิจ สำหรับหัวข้ออุปสรรค อาจจะเป็นหัวข้อเรื่องดังนี้ 1. การระบาดของ COVID 19 อาจจะส่งผลกระทบกับยอดขาย ทำให้คำสั่งซื้อลดลง   ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ดังนั้นทางองค์กรเองอาจจะต้องหาวิธีการอื่นๆในการเพิ่มยอดขาย เช่น 1.1  อาจจะต้องหาลูกค้าใหม่หรือเพื่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้นบางลูกค้าที่องค์กรยังไม่เคยติดต่อ ทางตัวแทนขายก็จะต้องหากลยุทธ์ในการขายหรือการตลาดเข้ามาช่วย เช่น 4P เป็นต้น 1.2หากลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เคยมีแต่ลูกค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ อาจจะต้องเพิ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร หรือเครื่องมือแพทย์มากขึ้น   1.3 หาผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเช่นเคยทำแต่โรงแรมก็มาเป็นร้านอาหารรวมถึงส่งอาหาร  Delivery เป็นต้น,  ธุรกิจ ทำตู้ไฟฟ้า  MDB  ขายก็มาทำเป็น  Turn...

ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล Efficiency VS Effectiveness   สำหรับข้อกำหนด  ISO9001: 2015  ได้มีการระบุให้ทางองค์กรมีการจัดตั้งวัตถุประสงค์คุณภาพ  บางครั้งในหลายๆองค์กรจะเรียกสั้นๆว่า  KPI. ซึ่งการจัดทำวัตถุประสงค์คุณภาพควรจัดตั้งทั้งการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในแต่ละกระบวนการ (Process)   ประสิทธิภาพ (Efficiency) กับ ประสิทธิผล (Effectiveness) ต่างกันอย่างไร ? ประสิทธิภาพ (Efficiency)  = Output/ Input x 100 ประสิทธิภาพจะเป็นการวัด งานที่เราทำได้เทียบกับทรัพยากรที่เราใส่เข้าไปหรือป้อนเข้าไป โดยส่วนใหญ่ประสิทธิภาพจะเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการ Organization Need ประสิทธิผล (Effectiveness) = Outcome/Input x 100 ประสิทธิผลจะวัดจากผลลัพท์ที่ได้เทียบกับทรัพยากรที่เราใส่เข้าไปหรือป้อนเข้าไป สำหรับประสิทธิผลส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ  Customer Need.   ถ้าดูจากสูตร หรือ นิยามอาจจะยังเข้าใจยากอยู่เรามาดูตัวอย่างกัน เช่นเราเป็นเจ้าของร้านทำเค้ก ถ้าเราอยากจะวัดผลการทำงานพนักงานเราจะวัดหัวข้ออะไรบ้าง สิ่งที่เราก็ต้องการจากการทำงาน ก็คืออยากได้พนักงานที่แต่งหน้าเค้กได้เร็ว  และ ก็แต่งหน้าเค้กสวยด้วย   ดังนั้นถ้าเราจับเวลามาตรฐานการทำงาน โดยปกติพนักงานแต่งหน้าเค้กต้องแต่งหน้าเค้กได้วันละ 100 ชิ้นต่อวัน รับรับพนักงานใหม่มาใหม่หนึ่งคน  พนักงานใหม่สามารถแต่งหน้าเค้กได้ 80 ...

1. Konnyaku Stone Konnyaku Stone เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก แต่มีความสำคัญที่ใช้ในระบบการผลิตของโตโยต้าซึ่งใช้ในการทำให้แผงตัวถังเรียบก่อนที่จะทาสีและกำจัดความไม่สมบูรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่รู้จักกันในชื่อ "ลิ้นปีศาจ" และขนาดเท่ากำปั้นหิน Konnyaku ไม่ได้เป็นหิน แต่อย่างใดจริงๆแล้วมันทำจากเรซินที่มีเม็ดทรายละเอียด เมื่อหินถูกปัดไปบนพื้นผิวโลหะความไม่สมบูรณ์ที่นูนขึ้นเล็กน้อยหรือรอยฝุ่นจะถูกปัดออกหรือทำให้เรียบออก ความสำคัญของพาเนลที่ราบรื่นอย่างสมบูรณ์นั้นมีความสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายการผลิตเช่นในร้านขายสี ก่อนที่แต่ละแผงจะถูกนำไปที่ร้านเชื่อม (ขั้นตอนต่อไปในกระบวนการผลิต) สมาชิกของโตโยต้าจะต้องลงนาม 2.Poka-Yoke (English: mistake-proofing): Fail safe devices in the production process that automatically stop the line in case of an error. ระบบการผลิตของโตโยต้ามุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพสูงสุดและกระบวนการที่ปราศจากข้อบกพร่อง นั่นคือแนวคิดเบื้องหลัง Poka-Yoke Poka-Yoke (ภาษาอังกฤษ: การพิสูจน์ความผิดพลาด): อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัยในกระบวนการผลิตที่หยุดสายโดยอัตโนมัติในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด Poka-Yoke เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตที่ช่วยให้สมาชิกโตโยต้าหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด (yokeru) (poka) โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อกำจัดข้อบกพร่องโดยการป้องกันแก้ไขหรือไฮไลต์ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น - ตัวอย่างเช่นจิ๊กที่มีชิ้นส่วนสำหรับการประมวลผลอาจมีการแก้ไขเพื่อให้พวกเขาเท่านั้นในการจัดเรียงที่ถูกต้อง...

  เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้น ผู้รับรองจะมีการออกใบรับรอง และให้แสดงเครื่องหมายรับรอง โดยในส่วนของประเทศไทยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ วิธีที่ 3 แบบที่ 5 จัดเป็นการรับรองคุณภาพโดยบุคคลที่ 3 และมีการทดสอบแบบของผลิตภัณฑ์ ประเมินระบบการควบคุมคุณภาพของ โรงงานที่ผลิต รวมทั้งมีการติดตามผลและได้ออกใบอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจาก สมอ. แล้วว่ามีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่กำหนด มีความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคาปัจจุบัน สมอ.ได้อนุญาตในแสดงเครื่องหมาย มอก.   1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ สมอ. กำหนดมาตรฐาน ของผลิตภัณฑ์นั้นไว้แล้วซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลัก ประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่า และเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารวัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น     2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไป ตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและ สังคม...

มาตรฐานการทำงาน (Standardized Work) คืออะไร Standardized Work (WI) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกแนวทางปฏิบัติงานที่ดีที่สุดในปัจจุบัน และจัดมาทำเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เมื่อมีการปรับปรุงการทำงานใหม่ ทางองค์กรควรต้องกลับมาทบทวนมาตรฐานการทำงานให้สอดคล้องกับการทำงานใหม่และให้แน่ใจว่ามาตรฐานใหม่กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการปรับปรุง ซึ่งบางครั้งเราจะได้ยินว่าเอกสารทำงานเป็นเอกสารมีชีวิต  (Living Document) Standardized Work สำหรับกระบวนการผลิตยังสามารถช่วยในการทำงานที่สำคัญ: 1. เป็นการกำหนดอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า  (กำหนด Lead time  ในการผลิต) 2. กำหนดลำดับการทำงานของผู้ปฏิบัติงานเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ในอัตราเวลาที่กำหนด  (Cycle time  ในแต่ละ Station) 3. มาตรฐานสินค้าคงคลังที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการผลิตมีสินค้าคงคบงที่ผลิตได้อย่างราบรื่น (Inventory stock) ประโยชน์ของงานที่ได้มาตรฐานคืออะไร   ประโยชน์หลักของงานมาตรฐานคือ: 1.กำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนในการทำงาน 2. สามารถใช้ในกการฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการ 3. ลดอุบัติเหตุอย่างบางข้อกำหนด เช่น   IATF16949  มีการระบุว่าจะต้องมีการกำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน หรือ กำหนดอุปกรณ์ที่จะต้องส่วมใสเพื่อความปลอดภัย PPE 4. พื้นฐานในการปรับปรุง 5.ลดความแปรปรวน 6.เพิ่มวินัยให้กับวัฒนธรรมการทำงาน 7.ส่งเสริมการแก้ปัญหา 8. เพิ่มการทำงานเป็นทีมทั่วทั้งองค์กร ตามข้อกำหนด IATF 8.5.1.2 มาตรฐานการทำงาน มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานไว้ดังต่อไปนี้ a) ได้ถูกสื่อสารไปยังพนักงานที่รับผิดชอบปฏิบัติงานและพนักงานเหล่านั้นมีความเข้าใจ (เช่นต้องมีการสอนงานให้กับพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับมาตรฐานนั้นๆเข้าใจขั้นตอนหรือกระบวนการที่ระบุไว้ในคู่มือการทำงาน) b) ชัดเจนอ่านออกได้ (ตัวหนังสืออ่านง่าย ถ้าเขียนด้วยลายมือต้องอ่านออก...