PMC Expert | Articles
20
archive,paged,category,category-articles,category-20,paged-9,category-paged-9,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Articles

วันนี้เราจะมาทำความรู้จากกับ Turtle Digram โดยเฉพาะขาเต่าที่เรียกว่า What rsults หรือ How many.   จริงๆแล้วมันคือ Quality objective ในข้อกหนด ISO นั้นเอง ข้อกำหนด 5.1.1.2 ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ ผู้บริหารระดับสูง ต้องทบทวนกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์และกระบวนการสนับสนุน เพื่อประเมินและปรับปรุงประสิทธิผล และประสิทธิภาพของกระบวนการเหล่านั้น ผลของกิจกรรมทบทวนกระบวนการต้องรวมเข้าไปเป็นข้อมูลสำหรับการทบทวนของฝ่ายบริหาร (ดูข้อ 9.3.2.1.)     สำหรับการวัดผลวัดเราต้องวัดทั้งประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลของกระบวนการแต่ไม่ได้บังคับให้วัดกระบวนการย่อย แล้วแต่องค์กรเช่นกระบวนการทบทวนข้อกำหนดลูกค้า กระบวนการย่อย 1.รับใบให้เสนอราคาจากลูกค้า 2.ทบทวนความเป็นไปได้ 3.ทำใบเสนอราคา 4.ได้รับการตอบรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แต่กรณีเป้าหมายไม่บรรลุผลให้ทบทวนกระบวนการและกระบวนการย่อยมาสาเหตุมาจากกระบวนการใด   การวัดประสิทธิผล ลูกค้าภายใน และ ลูกค้าภายนอกได้รับสิ่งที่ต้องการจากกระบวนการ (Internal or External needs are met.) จัดส่งได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ ของเสียไม่เกินเป้าที่ลูกค้ากำหนด Customer PPM ส่งใบเสนอราคาได้ตามวันที่ลูกค้ากำหนด ส่ง PPAP ได้ตามเวลา สอบเทียบได้ตามเวลาที่กำหนด   มุ่งแน้นความพึ่งพอใจของลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Focus on customer or interested parties satisfaction)     การวัดประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพท์ที่ได้ เทียบกับทรัพยากรที่ใช้ (Relationship...

อะไรคือ SIPOC?   SIPOC คล้ายกับ Process Approach ใน ISO. ซึ่งใน ISO จะให้ทางองค์กรกำหนดว่าองค์กรมีกระบวนการอะไรบ้าง กระบวนการแต่ละกระบวนการเชื่อมโยงกันอย่างไร กระบวนการไหนมาก่อนหลัง มองเป็น Input Process Output ทำความเชื่อมโยงกันทุกกระบวนการ (Business flow หรือ Business map) หลังจากนั้นให้เรากำหนดเจ้าของกระบวนการ คือ Process owner. ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะแต่ละบริษัทมีโครงสร้างความซับซ้อนขององค์กรไม่เหมือนกันนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น บางองค์กรให้ทางจัดซื้อวางแผนวัตถุดิบ หรือ ให้ทางวางแผน วางแผนวัตถุดิบ หรือ ให้ทางคลังวัตถุดิบวางแผนวัตถุดิบ ซึ่งได้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับองค์กร กระบวนการก็เหมือนกันคือวางแผนวัตถุดิบ แต่เจ้าของกระบวนการอาจจะต่างกันในแต่ละกระบวนการ แต่ SIPOC จะมองเป็น Supplier, Input, process, output, Customer...

Employee Engagement จากที่ได้ไปให้คำปรึกษาในหลายๆที่ ก็มีคำถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานเรารักองค์กร? พนักงานเราคิดว่าเขามีส่วนร่วมในการทำงานและปรับปรุงองค์กร? จะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานอยากจะทำงานกับบริษัท? อาจจะมีหลายเครื่องมือท่ีจะค้นหาคำตอบเหล่านี้ หนึ่งในนั้นที่ผมชอบคือ แบบสอบถามโดยใช้คำถามตามแนวทาง Gallup 's Q12.   Gallup 's Q12  Employee Engagement Findings. ฉันรู้ดีว่าบริษัท คาดหวังอะไรจากงานที่ฉันทำ ฉันมีเครื่องไม้เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานซึ่งช่วยให้ฉันทำงานได้ผลดี ในที่ทำงาน ฉันมีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ฉันทำได้ดีที่สุดทุกวัน ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาฉันได้รับการชื่นชม หรือ จากการทำงานที่ดี หัวหน้าของฉันหรือเพื่อนร่วมงาน แสดงความห่วงใย ใส่ใจในตัวฉัน มีคนในที่ทำงานกระตุ้นและส่งเสริมให้ฉันมีการพัฒนา ในที่ทำงาน ความคิดเห็นของฉันได้รับการยอมรับ ภารกิจและเป้าหมายของบริษัททำให้ฉั้นรู้สึกว่างานที่ฉันทำอยู่นั้นสำคัญ เพื่อนร่วมงานของฉันมุ่งมั่น ทุ่มเทเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ฉันมีเพื่อนที่ดีที่สุดในที่ทำงาน ในช่วง 6  เดือนที่ผ่านมา มีคนที่ทำงานพูดคุยกับฉัน เรื่องความก้าวหน้าของฉัน ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานี้ ฉันมีโอกาสได้เรียนรู้ และเติบโตในงาน คำถามเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรทราบว่าพนักงานมีความคิดเห็นอย่างไรกับองค์กร สิ่งที่องค์กรยังขาดอยู่คือเรื่องอะไร ซึ่งจะทำให้เราสามารถนำมาปรับปรุงองค์กรให้พัฒนาขึ้นได้ต่อไป   สุขุม...

Kaizen คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยทุกคนมีส่วนร่วม หมายถึง การทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมทีละเล็กทีละน้อย เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคนิคไม่ซับซ้อน ทุกคนสามารถทำได้ โดยแน้นหลักการ เลิก ลด เปลี่ยน 1. Easy ง่าย สะดวก รวดเร็ว เน้นการปรับปรุงง่ายๆ เห็นผลรวดเร็ว 2. Economy ประหยัด แน้นการปรับปรุงที่ไม่ต้องลงทุนหรือ ใช้จ่ายสูง 3. Every Time ทำได้ตลอดเวลา เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องเดียวกันสามารถปรับปรุง ได้หลายๆครั้ง หรือ ปรับปรุงต่อยอดจากของเดิมไม่มีที่สิ้นสุด 4. Every Level ทุกคนในองค์กร และทุกระดับสามารถที่จะปรับปรุงได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะหาอุปสรรคในการทำงาน และ ปรับปรุงเพื่อให้การทำงานง่ายขึ้นสะดวกขึ้น 5. Every Process ทำได้ทุกกระบวนการ บางองค์กรแน้นทำที่ผลิต แต่จริงๆแล้วสามารถทำได้ทุกแผนก ทั้งหน่วยงานผลิต และหน่วยงานสนับสนุน 6. Efficiency การทำการปรับปรุงจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน...

ทฤษฎีของการจูงใจ (theories of motivation) ความหมายของแรงจูงใจ คำว่า “แรงจูงใจ” มาจากคำกริยาในภาษาละตินว่า “Movere”(Kidd, 1973:101) ซึ่งมีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “to move” อันมีความหมายว่า “เป็นสิ่งที่โน้มน้าวหรือมักชักนำบุคคลเกิดการกระทำหรือปฏิบัติการ (To move a person to a course of action) ดังนั้นแรงจูงใจจึงได้รับความสนใจมากในทุกๆวงการ สำหรับโลเวลล์ (Lovell, 1980: 109) ให้ความหมายของแรงจูงใจว่า”เป็นกระบวนการที่ชักนำโน้มน้าวให้บุคคลเกิดความมานะพยายามเพื่อที่จะสนองตอบความต้องการบางประการให้บรรลุผลสำเร็จ” ไมเคิล คอมแจน (Domjan 1996: 199) อธิบายว่าการจูงใจเป็นภาวะในการเพิ่มพฤติกรรมการกระทำกิจกรรมของบุคคลโดยบุคคลจงใจกระทำพฤติกรรมนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ สรุปได้ว่าการจูงใจเป็นกระบวนการที่บุคคลถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์บางอย่างซึ่งจะเห็นได้พฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจเป็นพฤติกรรมที่มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดา ยกตัวอย่างลักษณะของการตอบสนองสิ่งเร้าปกติคือ การขานรับเมื่อได้ยินเสียงเรียก แต่การตอบสนองสิ่งเร้าจัดว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจเช่น พนักงานตั้งใจทำงานเพื่อหวังความดีความชองเป็นกรณีพิเศษ แรงจูงใจต่อพฤติกรรมของบุคคลในแต่ละสถานการณ์ แรงจูงใจจะทำให้แต่ละบุคคลเลือกพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป พฤติกรรมที่เลือกแสดงนี้ เป็นผลจากลักษณะในตัวบุคคลสภาพแวดล้อมดังนี้ 1.ถ้าบุคคลมีความสนใจในสิ่งใดก็จะเลือกแสดงพฤติกรรม และมีความพอใจที่จะทำกิจกรรมนั้นๆ รวมทั้งพยายามทำให้เกิดผลเร็วที่สุด 2.ความต้องการจะเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น 3.ค่านิยมที่เป็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ เช่นค่านิยมทางเศรษฐกิจ สังคม ความงาม จริยธรรม วิชาการ...

ความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ผู้มีส่วนได้เสียมีผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกำหนดด้านกฎหมายรวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ องค์กรต้องพิจารณาถึง ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับ QMS ข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้เสีย เช่นความต้องการความคาดหวัง องค์กรต้องเฝ้าติดตามและทบทวนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง   ความต้องการ Need คือสิ่งจำเป็นต้องมี เช่นลูกค้าบอกว่าต้องการของได้ตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ จัดส่งต้องตรงเวลา ความคาดหวัง expectation คือสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง มีก็ดี ไม่มีก็ได้ เช่นลูกค้าอยากให้ไปรวมกิจกรรม เพื่อสังคมกับลูกค้า CSR เช่นไปปลูกป่า หรือ บางลูกค้าจัดวิ่ง และ เชิญองค์กรให้ไปรวมกิจกรรม   Sukhum Rattanasereekiat Consulting. ที่ปรึกษาระบบบริหารงานคุณภาพ...

Impact and Effort Matrix เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ทีมควรทำ จากรายการวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ ด้วยการใช้ Impact Effort Matrix ทำให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหาด้วยการใช้งานง่าย เมทริกซ์สามารถช่วยพิจารณาว่าโซลูชันใดง่ายที่สุดใช้งานด้วยเวลาและทรัพยากรที่ จำกัด เมื่อแนวคิดถูกวางลงในเมทริกซ์ตามระดับของความพยายามจากต่ำไปสูงและผลกระทบของการนำไปปฏิบัติจากต่ำไปสูงมันเป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นภาพกลุ่ม สิ่งนี้จะช่วยให้ทีมมุ่งเน้นไปที่แนวคิดที่จะให้ผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกับพวกเขาด้วยความพยายามน้อยที่สุด โดยจะแยกออกเป็น  Major Project (Hard, High Impact) , Quick Win(Easy, High Impact), Thankless Task (Hard, Low Impact), Fill in job (Easy,Low Impact)   จากที่เรา Plot  งานลงใน  Matrix  ก็จะช่วยเราในการเลือกงานที่จะมาทำก่อน เราคงเลือก Quick Win (ทำง่ายแต่ได้ผลลัพท์มาก) มาทำก่อน คงจะไม่เลือก Thankless...

3C แรงกดดัน  3C ที่มีต่อองค์กร จากการที่โลกมีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะมี ​ AI, Robotic, Big DATA, รวมถึง Internet ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของโลก และการดำเนินธุรกิจ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  อย่างอุตสหรรมยานยนต์ ก็มีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการผลิตแทนแรงงานคน ในส่วนที่ต้องการความแม่นยำในการทำงาน หรือ ในส่วนที่คนเข้าไปทำงานแล้วอาจจะไม่ปลอดภัย สำหรับผลิตภัณฑ์เอง ก็มีการพัฒนาต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ประหยัดพลังงานมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle) ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป  และ ระบบรถขับเคลื่อนได้เอง “เทคโนโลยียานพาหนะไร้คนขับ (Autonomous and near-autonomous vehicles) จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริษัทจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด  เรามารู้จักการปรับตัวและแรงกดดันต่างๆที่เรียกว่า 3C กัน 3C มาจาก C= Company, C= Competitor, C= Customer Company ด้วยการถามตัวเองว่าบริษัทของเราเสนออะไรให้กับลูกค้า เช่น...

ภาพหลอน (Ghosting) ปรากฏการณ์การเกิดเงาของภาพที่ไม่พึงประสงค์บนชิ้นงานพิมพ์ มักจะเกิดกับภาพที่เป็นพื้นสีมีช่องปราศจากสีเจาะอยู่ภายใน เม็ดสกรีน เม็ดของสีที่เรียงตัวกันก่อให้เกิดภาพพิมพ์ เม็ดสกรีนบวม (Dot Gain) เป็นอาการของการพิมพ์ที่เม็ดสกรีนบนแผ่นพิมพ์มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดสกรีนบนเพลท โดยปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าใหญ่มากจะทำให้สีของงานพิมพ์ผิดเพี้ยนไปและความลึกของภาพจะน้อยลงโดยเฉพาะบริเวณที่มืด โมเร่ (Moire) มักเรียกอาการดังกล่าวว่าการเกิดลายเสื่อ เป็นปรากฏการณ์ที่รูปแบบของเม็ดสกรีนเมื่อพิมพ์สีทับซ้อนกันมีความผิดเพี้ยนไปเนื่องจากพิมพ์สีเหลื่อมฉากไของบางสีซ้อนไม่ตรงกัน หรือองศาของเม็สกรีนบางสีผิดไป หรือเม็ดสกรีนมีการเคลื่อนตัวหรือไหวตัวหรือมีรูปบิดเบี้ยว โมลผ้ายาง เพลากระบอกกลมในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพื่อพันผ้ายางรอบกระบอกนี้ เมื่อหมุนผ่านกระบอกเพลทจะรับภาพจากเพลทแล้วถ่ายทอดภาพที่ได้ไปกระดาษที่ใช้พิมพ์ โมลเพลท เพลากระบอกกลมในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพื่อพันเพลทรอบกระบอกนี้ เมื่อหมุนผ่านลูกหมึกจะเกิดภาพหมึกแล้วถ่ายทอดภาพที่ได้ไปยังกระบอกผ้ายาง โมลเหล็ก เพลากระบอกกลมในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพื่อให้กระดาษที่วิ่งผ่านพันรอบกระบอกนี้ เมื่อผ่านกระบอกผ้ายางก็จะรับภาพจากผ้ายางให้ปรากฏบนกระดาษที่ใช้พิมพ์ เย็บกี่ทากาวกรรมวิธีในการยึดเล่มหนังสือให้ติดกัน เริ่มจากการจัดเก็บหน้าหนังสือเป็นชุด ๆ เย็บที่สันแต่ละชุดด้วยด้ายให้ติดกัน เก็บรวมชุดทั้งหมดให้ครบเล่ม แล้วทากาวหุ้มปก เย็บกี่หุ้มปกแข็งกรรมวิธีคล้ายกับเย็บกี่ทากาว ต่างกันตรงที่มีขั้นตอนการนำกระดาษแข็งหนามาหุ้มด้วยกระดาษบางที่มีภาพพิมพ์หรือกระดาษ/ผ้าสำหรับทำปก แล้วจึงนำปกมาติดกับตัวเล่ม เย็บมุงหลังคากรรมวิธีการยึดเล่มหนังสือให้ติดกันโดยใช้ลวดเย็บที่สันหนังสือด้วยเครื่องเย็บ ปกติโรงพิมพ์จะแนะนำเย็บ 2 จุดโดยมีระยะห่างกันพอประมาณเพื่อไม่ให้เนื้อในแต่ละแผ่นขยับไปมา รีม หน่วยวัดจำนวนแผ่นกระดาษ เท่ากับ 500 แผ่น กระดาษที่บรรจุขายและส่งให้โรงพิมพ์จะถูกห่อและขายเป็นรีม ลูกกาว ลูกกลิ้ง (Roller)ในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีหน้าที่นำพาหมึกจากรางหมึกผ่านชุดลูกกลิ้งนี้ซึ่งจะกระจายหมึกคลึงหมึกและส่งต่อหมึกให้มีความหนาของหมึกที่สม่ำเสมอไปยังโมลเพลทเพื่อสร้างภาพต่อไป ลูกน้ำ ลูกกลิ้ง (Roller)ในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีหน้าที่นำพาเยื่อน้ำส่งต่อให้โมลเพลทเพื่อกระจายไปตามบริเวณที่ไม่ต้องการให้หมึกมาติดผิวของเพลทเพื่อการสร้างภาพต่อไป สกัม...

45 นิสัยสำหรับการทำงานแบบ โตโยต้า _____________   บทที่ 1 นิสัยที่ทำให้พนักงานเติบโตขึ้น   1.เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้เรื่อง นิสัยของคนโตโยต้า: จะให้ลูกน้องแก้ปัญหายากๆ เพื่อกระตุ้นให้ใช้ความคิด นิสัยของคนบริษัททั่วไป: โอดครวญว่าลูกน้องไม่มีความคิด   2.เมื่อหัวหน้ารู้ว่างานมีปัญหา นิสัยของคนโตโยต้า: คิดหาทางแก้ปัญหาไปพร้อมกับลูกน้อง นิสัยของคนบริษัททั่วไป: โยนปัญหาให้ลูกน้อง   3.เมื่อต้องการให้ลูกน้องทำตามคำสั่ง นิสัยของคนโตโยต้า: อธิบายให้ลูกน้องเกิดความเข้าใจและยอมรับคำสั่ง นิสัยของคนบริษัททั่วไป: ใช้อำนาจบังคับให้ลูกน้องทำตามคำสั่ง   4.วิธีปฏิบัติกับลูกน้อง นิสัยของคนโตโยต้า: คิดหาทางทำให้ลูกน้องทำงานได้อย่างสะดวก นิสัยของคนบริษัททั่วไป: คิดหาทางทำให้ลูกน้องทำงานอย่างแข็งขัน   5.งานมาตรฐานกับคู่มือการทำงาน นิสัยของคนโตโยต้า: ให้ลูกน้องปรับปรุงงานมาตรฐานด้วยตัวเอง นิสัยของคนบริษัททั่วไป: ให้ลูกน้องทำตามคู่มือการทำงาน   6.เมื่อลูกน้องเกิดความไม่พอใจ นิสัยของคนโตโยต้า: ให้ลูกน้องเสนอวิธีปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจ นิสัยของคนบริษัททั่วไป: ให้ลูกน้องอดทนและคิดว่าเดี๋ยวก็ชินไปเอง    7.วิธีรับมือกับอุบัติเหตุ นิสัยของคนโตโยต้า: ไปยังที่เกิดเหตุทันที นิสัยของคนบริษัททั่วไป: คิดหาวิธีแก้ปัญหาอยู่ที่ห้องประชุม   8.แนวทางในการสอนลูกน้อง นิสัยของคนโตโยต้า: สอนลูกน้องให้เก่งกว่าตัวเอง นิสัยของคนบริษัททั่วไป: สอนลูกน้องให้เชื่อฟังคำสั่ง _____________   บทที่ 2 นิสัยในการกำจัดความสูญเปล่าได้   9.มุมมองเรื่องการค้นหาสิ่งของ นิสัยของคนโตโยต้า: มองว่าการค้นหาสิ่งของทำให้เกิดความสูญเปล่า นิสัยของคนบริษัททั่วไป: มองว่าการค้นหาสิ่งของถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน   10.เมื่อนำเครื่องจักรมาใช้ในการทำงาน นิสัยของคนโตโยต้า: ให้พนักงานทำงานที่มีแต่คนเท่านั้นที่ทำได้ นิสัยของคนบริษัททั่วไป: ให้พนักงานทำงานที่เรื่องเครื่องจักรก็สามารถทำได้   11.วิธีทำให้พนักงานรับรู้ถึงปัญหา นิสัยของคนโตโยต้า: ใช้วิธีทำให้มองเห็นข้อมูลอย่างชัดเจน พนักงานจึงมองเห็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นิสัยของคนบริษัททั่วไป: ให้วิธีให้ดูข้อมูลจากเอกสารที่เข้าใจยากพนักานจึงมองไม่เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น   12.ขั้นตอนการปรับปรุงการทำงาน นิสัยของคนโตโยต้า: ปรับปรุงโดยเริ่มจากการลด มุระ(ความไม่สม่ำเสมอ) มุริ(การฝืนทำ) และมุดะ(ความสูญเปล่า) นิสัยของคนบริษัททั่วไป: ปรับปรุงโดยเริ่มจากการลด มุริ มุระ และมุดะ   13.การทำกิจกรรม 5ส นิสัยของคนโตโยต้า: รักษาพื้นที่ปฏิบัติงานให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ นิสัยของคนบริษัททั่วไป: ทำความสะอาดใหญ่ปีละ1-2 ครั้ง   14.การจัดทำเอกสาร นิสัยของคนโตโยต้า: สรุปลงในกระดาษ A3...