30 Jan CE Mark คืออะไร
CE Marking หรือการประทับตรา (ตัวอักษรย่อมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “Conformité Européene” ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษคือ “European Conformity”) เป็นเครื่องหมายแสดงว่าสินค้านั้นมีการออกแบบและการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อกำหนดในระเบียบข้อบังคับด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม EU เพื่อให้ผู้บริโภคใน EU มีความมั่นใจถึงความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการจัดการตามมาตรการพิทักษ์รักษาและลดผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลและขั้นตอนในเรื่องมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมยุโรปภายใต้ระบบ New Approach Standardisation เพื่อปรับประสานมาตรฐานสินค้าของประเทศสมาชิก EU ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเอื้ออำนวยต่อการไหลเวียนของสินค้าอย่างเสรีในตลาดภายใน สามารถดูทางเว็ปไซท์ http://www.newapproach.org/ ซึ่งจัดทำขึ้นร่วมกันโดยหน่วยงานด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของ EU ทั้ง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย
- CEN – European Committee for Standardization
- CENELEC – European Committee for Electrotechnical Standardization
- ETSI – European Telecommunications Standards Institute
การประทับตรา บนสินค้าอุตสาหกรรมที่วางจำหน่ายใน EU ได้เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2536 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์รวม 22 กลุ่มสินค้า[1] อาทิเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ก่อสร้าง หม้อน้ำร้อน ตู้เย็น/ตู้แช่แข็ง ลิฟท์ เครื่องจักร อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องชั่ง อุปกรณ์สื่อสาร และของเล่น ทั้งนี้ การผลิตสินค้าดังกล่าวส่งออกไปขายในตลาด EU และ EFTA จะต้องมีตรา ติดบนผลิตภัณฑ์ จึงสามารถวางจำหน่ายในตลาดดังกล่าวได้
ขั้นตอนขออนุญาตติดตรา CE Marking สามารถดูทางเว็ปไซท์ http://www.ce-marking.org/what-is-ce-marking.html โดยมีขั้นตอนสำคัญคือ
- ตรวจสอบว่า มีระเบียบข้อบังคับใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเรา
- ตรวจสอบว่าสินค้าของเรามีความความสอดคล้องกับข้อกำหนดสำคัญๆ ด้านการออกแบบและการผลิต ตามข้อกำหนดในระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเพียงใด
- เลือกขั้นตอน conformity assessment จากทางเลือกต่างๆ (options or modules) :
Module A: internal production control
Module Aa: intervention of a Notified Body
Module B: EC type-examination
Module C: conformity to type
Module D: production quality assurance
Module E: product quality assurance
Module F: product verification
Module G: unit verification
Module H: full quality assurance
ทั้งนี้ ระเบียบข้อบังคับมักใช้ชุดคำถามที่สอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะสินค้า เพื่อจัดประเภทของระดับความเสี่ยง โดยอ้างอิงทางเลือกที่ยอมให้ผู้ผลิตรับรองสินค้าของตนและติดตรา CE marking ได้
- สำหรับสินค้าที่มีความเสี่ยงน้อย ทางโรงงานผู้ผลิตสามารถตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของสินค้าตนเองได้ โดยจัดทำใบรับรอง (Declaration of Conformity) และติดตรา บนสินค้าตน แต่ในกรณีสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง ระเบียบข้อบังคับจะกำหนดให้มีการตรวจสอบรับรองโดยหน่วยงานอิสระ (Notified Body) ทั้งจากภาครัฐและเอกชนของประเทศสมาชิก EU ประเทศสมาชิก EFTA และประเทศที่มีความตกลง MRA กับ EU ได้แก่ สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้การรับรองและประกาศใน Official Journal แล้ว (ข้อมูลในเว็ปไซท์ http://www.ce-marking.org/list-of-notified-bodies.html มีหน่วยงาน Notified Body ราว 1,000 แห่ง) หน่วยงานเหล่านี้จะทำการตรวจสอบสินค้าในห้องปฏิบัติการตามขั้นตอนที่กำหนดในข้อบังคับ และมักให้บริการ เช่น
– การทดสอบผลิตภัณฑ์
– การออกใบรับรองผลการตรวจสอบ
– การประเมินแฟ้มข้อมูลด้านเทคนิค และข้อมูลการออกแบบสินค้า
– ระบบคุณภาพและการเฝ้าระวังสินค้า
– การกำหนดมาตรฐาน
- หากสินค้าของเราอยู่ในข่ายที่จะต้องตรวจสอบรับรองโดย Notified Body ก็จะมีขั้นตอนที่ต้องเลือกแบบมาตรฐานสินค้า วิธีการทดสอบ และ Notified Body หลังจากนั้น ต้องจัดตั้งตัวแทน Authorized Representative ใน EU และจัดทำแฟ้มข้อมูลด้านเทคนิคสำหรับตรวจพิสูจน์ว่าสินค้าของเราผ่านการทดสอบอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- การจัดทำใบรับรอง Declaration of Conformity ต้องบรรจุข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการตรวจย้อนกลับไปยังโรงงานผู้ผลิต หรือ Authorized Representative ใน EU โดยระบุรายชื่อข้อบังคับและมาตรฐานต่างๆ ที่สินค้าของเรามีความสอดคล้อง คุณลักษณะสินค้า ชื่อโรงงานผู้ผลิต ที่อยู่ และลายเซ็นต์ผู้มีอำนาจ
- สินค้าบางกลุ่ม เช่น อุปกรณ์การแพทย์ จะต้องมีการจดทะเบียนใน EU ด้วย ซึ่งหากได้รับการอนุมัติ จะมีใบทะเบียน (Certificate of Registration) กำกับ มิฉะนั้น จะไม่สามารถวางจำหน่ายในตลาดยุโรปและติดตรา CE marking ได้
- นอกจากนั้น ยังมีระเบียบเฉพาะเกี่ยวกับขนาดและตำแหน่งในการติดตรา CE marking บนตัวสินค้า หีบห่อบรรจุภัณฑ์ และเอกสารในการขนส่งสินค้า รวมทั้งข้อจำกัดเฉพาะในประเด็นเมื่อไรและใครได้รับอนุญาตให้ติดตรา CE marking
ที่มา:https://thaieurope.net