PMC Expert | IATF16949:2016-Sanctioned Interpretations
1233
post-template-default,single,single-post,postid-1233,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

IATF16949:2016-Sanctioned Interpretations

IATF16949:2016-Sanctioned Interpretations

การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเพื่มเติมสำหรับ  IATF16949:2016

มีอะไรเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับข้อกำหนด 6.1.2.3 แผนสำรองในกรณีฉุกเฉิน บ้าง?
จากการได้เข้าไปตรวจติดตาม IATF16949 ในแต่ละองค์กรโดยส่วนใหญ่องค์กรได้มีการจัดทำแผนฉุกเฉินเกี่ยวกับเรื่องโรคระบาดรวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงเรื่องโรคระบาด Covid19 อยู่แล้ว เช่นความเสี่ยงระดับองค์กร เช่นยอดขายลดลง หรือ อาจจะต้องทำให้หยุดกิจการหากพบพนักงงานติด Covid19 เป็นจำนวนมาก รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงในแต่ละกระบวนการ เช่นกระบวนการรับพนักงานใหม่ ก็มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเรื่องคัดกรองพนักงานที่จะมาทำงานใหม่ หรือ Covid19 ส่งผลทำให้สายเรือหายากขึ้น รวมถึงราคาในการจัดส่งแพงชึ้นซึ่งอาจจะส่งผลต่อการจัดส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หรือ มีความเสี่ยงต่อการรับวัตถุดิบล่าช้า ซึ่งทางแผนกจัดส่ง หรือ แผนกจัดซื้อก็ต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงเหล่านี้
สามารถดูบางตัวอย่างตาม Link นี้
ข้อกำหนด 6.1.2.3 แผนสำรองในกรณีฉุกเฉิน Sanction July 2021 หลักๆที่มีการเปลี่ยนแปลงคือเพิ่มเติมหัวข้อองค์กรจะต้องทำแผนฉุกเฉินเรื่องการจัดการเกี่ยวกับโรคระบาด
จากที่เข้าไปตรวจติดตามองค์กรส่วนใหญ่ ออดิเตอร์ก็จะมีการสอบถามเรื่องแผนฉุกเฉินที่เกี่ยวกับโรคระบาด ซึ่งหลายๆองค์กรมีการจัดทำแผนฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดอยู่แล้ว แต่สำหรับบ้างองค์กรไม่ได้มีการทำแผนฉุกเฉินที่เป็นรูปธรรม ทางออดิเตอร์ก็จะดูว่าที่หน้างานจริงมีมาตราการการป้องกันอย่างไรบ้าง ก็อาจจะแนะนำให้จัดทำขึ้น แต่สำหรับประกาศใหม่ (New sanction) คงจะต้องทำออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น
สามารถดูตัวอย่างแผนฉุกเฉิน เรื่อง Covid 19 ได้ตาม Link ด้านล่างนี้ สำหรับบทความนี้ผมเขียนไว้ตั้งแต่เริ่มระบาดเมื่อครั้งแรกใหม่ๆ
(New SI) ข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลง 7.2.1 Competency
ตามข้อกำหนดเดิม เมื่อเวลาเราสร้างความตระหนักให้ก้บพนักงาน เราก็จะแน้นให้พนักงานเข้าใจเกี่ยวกับ
– พนักงานมีส่วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างไร
– พนักงานมีส่วนช่วยทำให้องค์กรหรือแผนกตัวเองบรรลุเป้าหมาย รักษาเเละปรับปรุงคุณภาพอย่างไร
– สร้างความตระหนักเกี่ยวก้บข้อกำหนดของลูกค้า (CSR)
– การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงที่มีต่อลูกค้าหากได้มีผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดแต่สำหรับข้อกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ เน้นพนักงานต้องเข้าใจเกี่ยวกับอาการของความล้มเหลวของอุปกรณ์ที่รอดำเนินการ และ/หรือการพยายามโจมตีทางไซเบอร์ เพราะว่าความรู้ของพนักงานเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันไม่ให้ปัญหาใหญ่เมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับความล้มเหลวของอุปกรณ์เครื่องจักรที่อาจจะเกิดขึ้นและความรู้ของพนักงานก็ยังช่วยป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์จากภายนอกได้อีกด้วย
ข้อกำหนด 8.4.2.4 Supplier monitoring
องค์กรต้องมีเอกสารกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และบริการที่จัดหาให้ภายนอกเป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้าภายในและภายนอกอย่างน้อยที่สุด ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์ต่อไปนี้จะต้องได้รับการตรวจสอบ:_________________________________________________________a) ความสอดคล้องตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบ
b) การทำให้ลูกค้าหยุดชะงักที่โรงงานรับสินค้า รวมถึงการระงับสินค้าที่อยู่ในลานจัดเก็บและหยุดการส่งมอบสินค้า
c) สมรรถนะการส่งมอบตามเวลาที่กำหนด
d) จำนวนครั้งของการเกิดค่าขนส่งพิเศษ (SI July 2021)
หากลูกค้าให้ข้อมูลดังต่อไปนี้องค์กรจะต้องรวมการติดตามเรื่องดังต่อไปนี้ตามความเหมาะสม
e) สถานะพิเศษที่ลูกค้าแจ้งตักเตือนซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพหรือการส่งมอบ
f) ผลิตภัณฑ์ที่ส่งคืนจากตัวแทนจำหน่าย การส่งคืนสินค้าในช่วงรับประกัน การดำเนินการเเก้ไขปัญหาของผู้ใช้รถ และการเรียกสินค้าคืนจากผู้บริโภค

มีองค์กรเคยถามว่า:
ทางองค์กรได้รับ NC จากทาง Auditor ว่าองค์กรทำการประเมิน Supplier ไม่ครบเช่นขาดเรื่อง การทำให้ลูกค้าหยุดชะงักที่โรงงานรับสินค้า รวมถึงการระงับสินค้าที่อยู่ในลานจัดเก็บและหยุดการส่งมอบสินค้า
แต่สำหรับแบบฟอร์มการประเมินเป็นของบริษัทแม่ ที่จะต้องใช้ฟอร์มเหมือนบริษัทแม่อย่างนี้เราต้องทำอย่างไร?ตามข้อกำหนด กำหนดให้เรามีการติดตาม ซึ่งการติดตามอาจจะมีได้หลายวิธี การที่เราใส่หัวข้อตามข้อกำหนดลงในแบบฟอร์ม Supplier Evaluation ก็เป็นการติดตามอย่างหนึ่ง หรือ เราอาจจะไม่มีหัวข้อนี้ในการประเมิน Supplier แต่เรามีกราฟสรุปแยกหัวข้อเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นการติดตาม Supplier เข่นกัน______________________________________________________________

แต่สำหรับ SI ใหม่ได้ทำการตัดหัวข้อ จำนวนครั้งของการเกิดค่าขนส่งพิเศษ ออกไปเพราะ ค่าขนส่งพิเศษรวมอยู่ในข้อกำหนดด้านความพึงพอใจของลูกค้าที่กำหนดไว้ใน 9.1.2.1 แล้ว การวัดการเกิดของการขนส่งสินค้าพรีเมียมจากซัพพลายเออร์นั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตของระบบการจัดการคุณภาพขององค์กร เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์ภายใน

See Less