PMC Expert | Kamban
899
post-template-default,single,single-post,postid-899,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Kamban

Kamban

Kanban คืออะไร
Kanban เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับ “Signal Card” ในทศวรรษที่ผ่านมาคนงานในโรงงานจะกรอกบัตรสัญญาณเมื่อชิ้นส่วนใกล้หมด บัตรสัญญาณ(Kanban) จะถูกส่งไปยังทีมหรือพนักงานที่ทำงานเพื่อสั่งซื้อชิ้นส่วนนั้นมากขึ้น วันนี้กระบวนการนี้ส่วนใหญ่คอมพิวเตอร์ แนวคิดของ Kanban คือซื้อชิ้นส่วนเพิ่มเติมเมื่อจำเป็นเท่านั้น

เป้าหมายของ Kanban? เป้าหมายหลักของ Kanban คือการลดขยะ หากซื้อชิ้นส่วนเมื่อจำเป็นเท่านั้นคุณก็จะไม่เสียเวลา เงินหรือพื้นที่ในการสั่งซื้อชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามหากชิ้นส่วนถูกซื้อโดยอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องใช้ก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

Kanban คือการส่งบัตรสินค้า และรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ไปยังกระบวนการก่อนหน้า เพื่อใช้ในการสั่งผลิต เท่าที่จำนวนที่จำเป็น ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่า  ระบบดึง (Pull System)” ระบบดึงคือ ลูกค้า เป็นผู้ดึงจากผู้ผลิต การพัฒนาของระบบดึงและการใช้ Kanban มีความเชื่อมโยงกับ Supermarket พนักงานประจำ Supermarket หน้าที่คือ จัดข้าวของต่างๆเรียงขึ้นไปบนชั้น โดยที่พนักงานจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องจัดสินค้าใดขึ้นชั้น วิธีการก็คือดูว่าสินค้าตัวไหนลูกค้าหยิบซื้อไป ก็เอาตัวนั้นกลับเข้ามาเติม ถ้ารายการไหนยังไม่มีลูกค้าซื้อ ก็ไม่ต้องจัดของขึ้นชั้น ดังนั้นของบนชั้นจะมีจำนวนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เสมอ ซึ่งวิธีการแบบนี้ก็คือระบบดึง

 

แนวคิดระบบดึง เพื่อนำชิ้นส่วนที่ต้องการกลับเข้ามาเติมในกระบวนการ ซึ่ง Kanban ลักษณะเช่นนี้ถ้าภาษาของโตโยต้า จะเรียกว่า Part Withdrawal Kanban หรือ Kanban เบิกของ หรือ Kanban เบิกชิ้นส่วน ซึ่งใช้ในการดึงกันระหว่างกระบวนการและ Warehouse หรือเชื่อมระหว่าง Warehouse ของ Toyota เองกับ Supplier และยังมีการสื่อสารอีกลักษณะหนึ่ง ที่ใช้ในการเชื่อมระหว่าง Stock กับกระบวนการ ที่เรียกว่า Production Ordering Kanban หรือ Kanban สั่งผลิต

 

สุขุม รัตนเสรีเกียรติ

ที่ปรึกษาระบบบริหารงานคุณภาพ

PMC Expert Co., Ltd.