PMC Expert | KPIs
922
post-template-default,single,single-post,postid-922,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

KPIs

KPIs

KPI คืออะไร
KPI เป็นตัวย่อสำหรับ Key Performance Index และหมายถึงตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต KPI เป็นตัวชี้วัดหลักที่กำหนดโดยผู้บริหารเพื่อวัดความสำเร็จของเป้าหมายการผลิตแบบลีน หรือวัดเป้าหมายในการทำงาน

KPI

  • Key: สำคัญ, หลัก, หัวใจ
  • Performance: ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงาน
  • Indicator: ตัวชี้วัด
  • ตัวชี้วัดหลักของผลการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือสำคัญที่บ่งบอกถึงข้อมูลที่แสดงสถานะที่เป็นจริงขององค์การในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการกำกับตรวจสอบการดำเนินการตามแผนที่กำหนด

จุดประสงค์ของ  KPI

การเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และแผนงานที่สำคัญเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร

  • เป็นเครื่องมือในการกำหนดวัตถุประสงค์ และวัดความเปลี่ยนแปลงของการดำเนินงาน
  • มีเกณฑ์วัดและหน่วยวัดชัดเจนที่ใช้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
  • สามารถวัดปริมาณ คุณภาพ เวลาและ ค่าใช้จ่าย  เพื่อการประเมินผลได้

ข้อดีของการกำหนดตัววัด

  • ทำให้ทราบสถานะในปัจจุบัน
  • สามารถเปรียบเทียบกับคู่แข่งในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน
  • ชี้ช่องทางในการพัฒนาองค์กร
  • มีความโปร่งใสในการบริหารองค์กร
  • เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ

 

ข้อกำหนด ISO9001 ที่เกี่ยวข้อง กับ  KPI  มีดังต่อไปนี้

6.2.1 วัตถุประสงค์คุณภาพและการวางแผนเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์

องค์กรต้องกำหนดวัตถุประสงค์คุณภาพ หน้าที่และระดับสายงานและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์ต้อง

a) สอดคล้องกับนโยบายคุณภาพ

b) สามารถวัดผลได้

c )พิจารณาถึงข้อกำหนดที่ต้องประยุกต์ใช้

d) เกี่ยวข้องกับความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการและการสร้างความพึงพอใจลูกค้า

e) ได้รับการเฝ้าติดตามเฝ้าระวัง

f) ได้รับการสื่อสาร

g) ได้รับการปรับปรุงตามความเหมาะสม องค์กรต้องรักษาเอกสารสารสนเทศที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์คุณภาพ


สำหรับข้อกำหนด IATF16949 จะมีกำหนดเพิ่มเติม 6.2.2.1 เป้าหมายคุณภาพและแผนงานเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมาย

เป้าหมายคุณภาพต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าสำหรับระดับชั้นที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งองค์กร

ผลการทบทวนขององค์กรที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้นต้องได้รับการพิจารณาเมื่อองค์กรจัดทำเป้าหมายคุณภาพประจำปี (อย่างน้อย) และเป้าหมายที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน (ภายในและภายนอก)


สำหรับเป้าหมายเราจะต้องตั้งให้   SMART

 

Specific  – ตั่้งเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน เจาะจง  เช่นเราบอกว่า บริษัทจะผลิตงานที่ดี  ก็ยังไม่เจาะจง  แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น จะวัดเรื่องความพึ่งพอใจลูกค้า วัดเรื่องลูกค้าร้องเรียน หรือวัดของเสียในกระบวนการ ก็จะจัดเจนมากขึ้น

Measurable – สามารถวัดผลได้ดังนั้นส่วนใหญ่จะต้องเป็นตัวเลข  เช่นบอกว่าผลิตงานให้ได้ดี หรือ ต้องให้ลูกค้าร้องเรียนมีน้อย  แต่น้อยเท่าไรถึงจะดีไม่สามารถตอบได้  แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นลูกค้าร้องเรียนเป็นศูนย์ หรือผลิตงานของเสียในกระบวนการผลิตไม่เกิน 2%  ก็จะสามารถวัดผลได้

Attainable – เป้าหมายควรเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้ หรือสามารถกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลได้

Realistic – เป้าหมายต้องท้าทาย  และ สามารถที่จะเป็นจริงได้  ไม่ห่างกันไปมากจน หมดกำลังใจตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

Timely – กำหนดเวลาที่ชัดเจน  เช่น ผลเวลาต่างกันก็ใช้ทรัพยากร และการวางแผนที่ต่างกัน  เช่นจะไปเชียงใหม่ภายใน  1 ช.ม. ,8 ช.ม. .2 วัน ก็คงต้องเลือกการเดินทางที่ต่างกัน ก็เปรียบเสมือนกับ เป้าหมายในการทำงาน เวลาก็เป็นตัวกำหนดแผนงานในการทำงาน

 

สุขุม รัตนเสรีเกียรติ

ที่ปรึกษาระบบบริหารงานคุณภาพ

PMC Expert Co., Ltd.