PMC Expert | MSDS and IMDS
1292
post-template-default,single,single-post,postid-1292,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

MSDS and IMDS

MSDS and IMDS

How is different between MSDS and IMDS?

 

Material Safety Data Sheet (MSDS) ชื่อที่รู้จักโดยทั่วไป หรือ Safety Data Sheet (SDS)

คือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีที่จะแสดงข้อมูลของสารเคมีที่มีการแสดงข้อมูลตั้งแต่ความเป็นอันตรายพิษวิธีใช้การเก็บรักษาการขนส่งการกำจัดและการจัดการอื่นๆของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ประเภทนั้นๆเพื่อให้การใช้สารเคมีนั้นๆเป็นไปด้วยความปลอดภัยและไร้ซึ่งความอันตรายขณะใช้งานนั่นเองเพราะหากมีการนำเข้าสารเคมีแบบผิดๆบุคลากรที่จำเป็นจะต้องใช้สารเคมีดังกล่าวไม่มีความรู้และความสามารถในการควบคุมดูแลก็อาจจะนำมาซึ่งการสูญเสียและอาจถึงแก่ชีวิตได้ดังนั้นจึงมีการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยเบื้องต้น  เมื่อผู้ปฎิบัติงานเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี สามารถดูการปฐมพยาบานเบื้องต้น หรือสามารถส่งตัวผู้ป่วยพร้อมเอกสาร  SDS ไปรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อให้คุณหมอทราบรายละเอียดว่าประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับเคมีอะไรเพื่อจะได้วินิฉัยโรคได้ถูกต้องมากขึ้น สำหรับ  Auditor  ISO14001 ก็มีการตรวจว่ามี  SDS ครบและอยู่ที่จุดปฎิบัติงานหรือสามารถเข้าถึงได้ง่ายหรือไม่

เอกสารดังกล่าวนี้ ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ SDS ดังนี้

SDS ควรมีข้อมูลครบทั้ง 16 หัวข้อ

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตและหรือจำหน่าย
  2. ข้อมูลความเป็นอันตราย
  3. ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
  4. มาตรการปฐมพยาบาล
  5. มาตรการผจญเพลิง
  6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหล
  7. การใช้และการจัดเก็บ
  8. การควบคุมการได้รับสัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล
  9. สมบัติทางกายภาพและเคมี
  10. ความเสถียรและการเกิดปฏิกิริยา
  11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา
  12. ข้อมูลด้านระบบนิเวศ
  13. ข้อพิจารณาในการกำจัด
  14. ข้อมูลสำหรับการขนส่ง
  15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ
  16. ข้อมูลอื่น ๆ

 

 

International Material Data System (IMDS)

IMDS เป็นฐานข้อมูลที่สามารถเปิดได้ทาง Internet ฐานข้อมูลนี้ เกิดขึ้นเนื่องมาจากมีข้อบังคับของกลุ่มประเทศยุโรปเกี่ยวกับการจัดการวงจรชีวิตของรถยนต์ (Directive of the European Parliament 2000/53/EG regarding End-of-Life Vehicles) ซึ่งมีการกำหนดบังคับเกี่ยวกับเรื่องการจัดการรถยนต์เหล่านี้เมื่อรถยนต์เหล่านี้สิ้นอายุขัยการใช้งาน ดังนั้นจึงมีข้อบังคับห้ามใช้สารโลหะหนักหรืออื่นๆ ในส่วนประกอบของรถยนต์ กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์จึงร่วมมือกันจัดตั้งฐานข้อมูล IMDS นี้ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในการเลือกส่วนประกอบที่จะประกอบเป็นรถยนต์ ตลอดจนเรื่องของการหาแนวทางการ recycle ส่วนประกอบของรถยนต์เมื่อรถยนต์สิ้นอายุขัยการใช้งาน

ซึ่งทางองค์กรจะต้องบันทึกข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์ มีน้ำหนักเท่าไร  และ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง  (BOM) ซึ่งส่วนประกอบที่รวมกันมาเป็นชิ้นงาน ก็ต้องบันทึกว่าส่วนประกอบแต่ละชิ้นน้ำหนักเท่าไร และ ส่วนประกอบเหล่านั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง หรือมีสารเคมีอะไรบ้าง

ขอยกตัวอย่างง่ายๆที่อาจจะไม่เกี่ยวกับชิ้นส่วนยานยนต์เช่น องค์กรผลิตปากกา

Level 1 =  ปากกา ทางองค์กรบันทึก Part name- ปากกา, Part number, น้ำหนัก เป็นต้น

Level2 = ให้บันทีกส่วนประกอบของปากกา เช่น

2.1 ด้ามปากกา- ทางองค์กรบันทีก  Part name, part number, IMDS number, Qty, น้ำหนัก ,etc.

2.2 หมีก- ทางองค์กรบันทีก  Part name, part number, IMDS number, Qty,

2.3 หัวปากกา- ทางองค์กรบันทีก  Part name, part number, IMDS number, Qty, น้ำหนัก ,etc.

2.4 ด้ามกดปากกา- ทางองค์กรบันทีก  Part name, part number, IMDS number, Qty,

สำหรับ Supplier ของผู้ผลิตปากกา ก็ต้องกรอก  IMDS  ใน Level ถัดๆไปเช่นกัน ยกตัวอย่าง  Supplier  ผลิตหมึก

Level 1= หมึก  ทางองค์กรบันทึก Part name- หมึก, Part number, น้ำหนัก เป็นต้น

Level 2 = ให้บันทีกเคมีที่เป็นส่วนประกอบหมึก เช่น

2.1 เคมีเบอร์1 – ทางองค์กรบันทีก  Part name, part number, IMDS number, Qty, น้ำหนัก ,etc.

2.2 เคมีเบอร์2 – ทางองค์กรบันทีก  Part name, part number, IMDS number, Qty,

ดังนั้น  IMDS  ก็จะสามารถเก็บบันทึกข้อมุลของ วงจรชีวิตของรถยนต์ ตั้งแต่ระดับแรกรถยนต์ ไล่ไปเลยๆจนถึงชิ้นส่วน และ ส่วนประกอบทางเคมี  และ  IMDS  ยังสามารถตรวจสอบได้ว่ามีสารต้องห้ามเกินกว่าค่าที่กำหนดอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย เพื่อให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นพิจารณาเพื่อปรับปรุงหรือลดสารต้องห้ามเพื่อไม่ให้เกินค่าที่กฎหมายกำหนด

สำหรับ IATF16949  Auditor ก็สามารถตรวจข้อกำหนดนี้ได้ในช่วง  New model Process หรือ ตรวจช่วงการทำ  PPAP ในหัวข้อ Section 2.1 Design Record.

 

สรุป ดังนั้น  SDS กับ  IMDS  จึงมีความแตกต่างกัน โดยที่ จุดประสงค์ของ SDS  คือ คือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีที่จะแสดงข้อมูลของสารเคมีที่มีการแสดงข้อมูลตั้งแต่ความเป็นอันตรายพิษวิธีใช้การเก็บรักษาการขนส่งการกำจัดและการจัดการอื่นๆของสารเคมี ส่วน  IMDS เป็น  Database  ที่จะบันทึกส่วนประกอบของรถยนต์โดยบันทึกตั้งแต่รถยนต์จนถึงชิ้นส่วนย่อยๆ เพื่อใช้ในมุมมองของการจัดการวงจรชีวิตของรถยนต์

 

ผู้เขียน  สุขุม รัตนเสรีเกียรติ

Sukhum Rattanasereekiat