06 Oct QC vs QA vs QS
QC vs QA vs QS
ความแตกต่างระหว่าง QC, QA และ QS
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control: QC) ตามนิยามของ ISO 8402: 1994 “Quality Control is the operational techniques and activities that are used to fulfil requirements for quality”การควบคุมคุณภาพ (Quality Control: QC) หมายถึง การควบคุมคุณภาพคือเทคนิคการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพ
Quality Control (QC) การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Standard) เพื่อความถูกต้องหรือสอดคล้องกับมาตรฐาน หรือ สเปค ดังนั้นเราจะเห็นว่าแผนก QC คือแผนกที่ตรวจสอบชิ้นงาน เช่น การตรวจสอบวัตถุดิบ การตรวจสอบงานคุณภาพระหว่างกระบวนการ การตรวจสอบงานสำเร็จรูป สำหรับบางองค์กรรวมไปถึงการทดสอบงาน. ดังนั้นเราจะเห็นว่ามีข้อหนด ISO ที่เกี่ยวข้องคือข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ 8.6 การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และข้อกำหนดการควบคุมของที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดคือ ข้อกำหนด 8.7 ที่เกี่ยวข้องหลักๆกับหน่วยงาน QC สำหรับบางบริษัท QC ก็มีหน้าที่ทำ MSA เพื่อทำการทวนสอบพนักงานของหน่วยงานว่ายังมีความสามารถในการตรวจสอบงานได้ถูกต้องหรือไม่
การประกันคุณภาพ (Quality Assurance: QA) ความหมายของการประกันคุณภาพ ISO 8402 ให้คำนิยามไว้ว่า “Quality Assurance is all those planned and systematic actions necessary to provide adequate confidence that a product or service will satisfy given requirements for quality” “การประกันคุณภาพคือการดำเนินการตามแผนและเป็นระบบที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างเพียงพอว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการจะตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพ”
QA โดยส่วนใหญ่จะดูเรื่อง Customer complaint การจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าโดยจะเป็นหน่วยงานในการเรียกประชุมเพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และกำหนดแผนการดำเนินการแก้ไขรวมถึงการติดตามประสิทธิผลการแก้ไขเช่นเดียวกับของเสียในกระบวนการผลิต เมื่อ QC ทำการตรวจสอบพบของเสียในกระบวนการผลิตจะออกเอกสาร NCR เพื่อดำเนินการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่เสีย แต่สำหรับของเสียที่บริมาณมากๆ หรือเป็นของเสียที่สำคัญเช่น Rank A ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยหรือฟังค์ชันการใช้งานหน่วยงาน QA ก็จะมีการออกเอกสาร CAR เพื่อทำการวิเคราะห์ หาสาเหตุและแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้ทำการเกิดซ้ำ ซึ่งการจัดการดังกล่าวจะสอดคล้องกับข้อกำหนดการแก้ไข 10.2 Corrective action
ในบางองค์กรหน่วยงาน QA รับผิดชอบในการทำการสอบเทียบเครื่องมือวัด และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทดสอบซึ่งจะตรงกับข้อกำหนด 7.1.5 การดูแลเครื่องมือวัดและทดสอบ
QA ยังมีหน้าที่ทำการ Audit เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานหรือกระบวนการผลิตได้ดำเนินการสอดคล้องกับคู่มือการทำงานที่กำหนดไว้ซึ่งการ Audit อาจจะรวมถึงการทำ System Audit, Process Audit, Product audit. ซึ่งจะตรงกับข้อกำหนด 9.2 การตรวจติดตาม หรือรวมไปถึงการ Audit Supplier สำหรับบางองค์กรอาจจะมีตำแหน่ง SQE Supplier Quality Engineer ในการทำการ Audit Supplier รวมถึงการออก CAR ให้กับทาง Supplier ในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะตรงกับข้อกำหนด 8.4.2 Type and extend control.
บางบริษัทก็อาจจะมี QA ที่ดูงาน New model เพื่อจะจัดเตรียมเอกสารเช่น เอกสาร Process capability (Pp, Ppk) รวมถึงการทำเอกสารสำหรับ PPAP. ซึ่งจะตรงกับข้อกำหนด 8.3.5 Design and Development output.
ดังนั้นหน่วยงาน QA มีหน้าที่หลักๆคือป้องกัน (Prevention) ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในทุกส่วนที่จะมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ
ระบบคุณภาพ (Quality System QS) ตาม ISO 8402 Quality System คือ The organizational structure, responsibilities, procedures, processes and resources for implementing quality management ระบบคุณภาพ (Quality System QS) โครงสร้างขององค์กร ,การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ, การกำหนดคู่มือการทำงาน, การกำหนดขั้นตอนกระบวนการและทรัพยากรในการดำเนินการจัดการคุณภาพ
บางองค์กรมีหน่วยงาน QMS เพื่อไว้ดำเนินการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารงานคุณภาพ การจัดเตรียมการตรวจสอบภายใน การเตรียมเอกสารและรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ทำการรวมรวมการประชุม KPI ประจำเดือน และการเตรียมความพร้อมในการรับการตรวจจากลูกค้า และ จากหน่วยงานให้การรับรอง CB บางบริษัทไม่มีหน่วยงาน QS ก็จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน QA ในการดำเนินการเรื่องต่างๆเหล่านี้แทน
ดังนั้นหน่วยงาน QS มีหน้าที่หลักๆการจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพให้สอดคล้องกับข้อกำหนด
ผู้เขียน
สุขุม รัตนเสรีเกียรติ
ที่ปรึกษาระบบบริหารงานคุณภาพ PMC Expert CO., Ltd
Certified auditor: IATF16949 , ISO9001