29 Jul Special Status Notification
Special Status Notification หรือ สถานะพิเศษที่ลูกค้าตักเตือนคืออะไร?
ถ้าทบทวนข้อกำหนด IATF16949 เราจะพบคำว่า สถานะพิเศษที่ลูกค้าตักเตือน มีอยู่ในสองข้อกำหนด คือ ข้อกำหนด 8.4.2.4 Supplier Monitoring กับ ข้อกำหนด 9.1.2.1 Customer Satisfaction
สถานะพิเศษที่ลูกค้าตักเตือน ส่วนใหญ่จะมีสำหรับบริษัทที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ หรือ Tier ต้นๆ ทางฝั่งตะวันตก ทั้งในอเมริกา หรือ ทางยุโรป เข่น Ford, GM, VW เป็นต้น แต่จะไม่ค่อยพบในฝั่งของ OEM หรือ Supplier chain ของทางญี่ปุ่นเท่าไร
สถานะพิเศษที่ลูกค้าตักเตือน คือ ลูกค้าแจ้งเตือนมาที่องค์กรเนื่องจากทางองค์กรอาจจะมีปัญหาด้านคุณภาพรุนแรง หรือ จำนวนมากซึ่งทำการแก้ไขแล้วก็ตามแต่ก็ยังมีปัญหาเกิดซ้ำ เป็นต้น
ซึ่งผู้เขียนเวลาไปสอนให้กับทางโรงงานชอบอธิบายว่า เมื่อเรามีปัญหาส่งงานมีคุณภาพให้กับลูกค้าเบื้องต้นลูกค้าอาจจะให้เราตอบ CAR หรือ 8D Report ซึ่งเปรียบเสมือนได้ใบเหลือง แต่ถ้ายังมีปัญหาซ้ำอีกก็เริ่มให้ “สถานะพิเศษที่ลูกค้าตักเตือน” ซึ่งเริ่มเป็นใบแดงล่ะ
ตัวอย่างสถานะพิเศษเช่น
GM : CSI, CSII, NBH
FORD: Q1 revocation เป็นต้น
สำหรับหัวข้อเหล่านี้สามารถศึกษาได้จาก Customer specification requirement (CSR) โดยส่วนใหญ่ให้เปิดไปที่ Section 9.1.2.1 Customer satisfaction จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่
สามารถเข้าไปดู CSR ได้ที่ตาม Link:
https://www.iatfglobaloversight.org/oem-requirements/customer-specific-requirements/
สำหรับข้อกำหนด ข้อกำหนด 8.4.2.4 Supplier Monitoring
ระบุว่าถ้าเรามีสถานะพิเศษที่ลูกค้าตักเตือน จากลูกค้า แล้วเราวิเคราะห์แล้วว่าสาเหตุเกิดมาจาก Supplier ดังนั้นทางองค์กรควรที่จะต้องมีการติดตามการทำงานของ Supplier ด้วย อาจจะเป็นการสรุป หรือ จัดทำเป็นกราฟสรุป หรือ เป็นผลการประเมิน Supplier ด้วยก็ได้
สำหรับข้อกำหนด 9.1.2.1 Customer Satisfaction
ทางองค์กร ควรที่จะมีการทำสรุปและติดตามด้วยว่าทางองค์กรมี สถานะพิเศษที่ลูกค้าตักเตือน มากน้อยเพียงใด ถ้ามีมีการจัดการอย่างไร บ้างองค์กรจัดทำเป็น KPI – ขององค์กรโดยมีการกำหนดว่า สถานะพิเศษที่ลูกค้าตักเตือน จะต้องเป็นศูนย์ เป็นต้น
ผู้เขียน สุขุม รัตนเสรีเกียรติ