PMC Expert | Turtle Diagram (What results)
661
post-template-default,single,single-post,postid-661,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Turtle Diagram (What results)

Turtle Diagram (What results)

วันนี้เราจะมาทำความรู้จากกับ Turtle Digram โดยเฉพาะขาเต่าที่เรียกว่า What rsults หรือ How many.
 
จริงๆแล้วมันคือ Quality objective ในข้อกหนด ISO นั้นเอง
ข้อกำหนด 5.1.1.2 ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ
ผู้บริหารระดับสูง ต้องทบทวนกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์และกระบวนการสนับสนุน เพื่อประเมินและปรับปรุงประสิทธิผล
และประสิทธิภาพของกระบวนการเหล่านั้น ผลของกิจกรรมทบทวนกระบวนการต้องรวมเข้าไปเป็นข้อมูลสำหรับการทบทวนของฝ่ายบริหาร (ดูข้อ 9.3.2.1.)
 
 
สำหรับการวัดผลวัดเราต้องวัดทั้งประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลของกระบวนการแต่ไม่ได้บังคับให้วัดกระบวนการย่อย แล้วแต่องค์กรเช่นกระบวนการทบทวนข้อกำหนดลูกค้า
กระบวนการย่อย
1.รับใบให้เสนอราคาจากลูกค้า
2.ทบทวนความเป็นไปได้
3.ทำใบเสนอราคา
4.ได้รับการตอบรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า
แต่กรณีเป้าหมายไม่บรรลุผลให้ทบทวนกระบวนการและกระบวนการย่อยมาสาเหตุมาจากกระบวนการใด
 
การวัดประสิทธิผล
ลูกค้าภายใน และ ลูกค้าภายนอกได้รับสิ่งที่ต้องการจากกระบวนการ
(Internal or External needs are met.)
จัดส่งได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ
ของเสียไม่เกินเป้าที่ลูกค้ากำหนด Customer PPM
ส่งใบเสนอราคาได้ตามวันที่ลูกค้ากำหนด
ส่ง PPAP ได้ตามเวลา
สอบเทียบได้ตามเวลาที่กำหนด
 
มุ่งแน้นความพึ่งพอใจของลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Focus on customer or interested parties satisfaction)
 
 
การวัดประสิทธิภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพท์ที่ได้ เทียบกับทรัพยากรที่ใช้ (Relationship between the result achieved and the resources used)
ชั่วโมงที่ใช้ทั้งหมดสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
จำนวนชั่วโมงการซ่อมงานต่อเดือน
ประสิทธิภาพของเครื่องจักรโดยรวม OEE
จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ต่อคนต่อวัน
 
มุ่งแน้นความพึ่งพอใจขององค์กร (Focus on organization satisfaction)
 
จริงๆแล้วเราสามารถวัดผลได้ทั้ง Input, Process, output และ Outcome.
แต่ควรที่แน้นวัดที่ Outcome  เป็นหลัก ก็คือเราอยากจะได้อะไรจากกระบวนการนี้ ซึ่งมันก็คือหลักการเดียวกันกับ   OKR นั่นเองคือการตั้ง Objective and Key Results.
Sukhum Rattanasreekiat
สุขุม รัตนเสรีเกียรติ
ที่ปรึกษาระบบบริหารงานคุณภาพ