PMC Expert | คำศัพท์สำหรับอุตสหกรรมสิ่งพิมพ์
621
post-template-default,single,single-post,postid-621,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

คำศัพท์สำหรับอุตสหกรรมสิ่งพิมพ์

คำศัพท์สำหรับอุตสหกรรมสิ่งพิมพ์

ภาพหลอน (Ghosting) ปรากฏการณ์การเกิดเงาของภาพที่ไม่พึงประสงค์บนชิ้นงานพิมพ์ มักจะเกิดกับภาพที่เป็นพื้นสีมีช่องปราศจากสีเจาะอยู่ภายใน

เม็ดสกรีน เม็ดของสีที่เรียงตัวกันก่อให้เกิดภาพพิมพ์

เม็ดสกรีนบวม (Dot Gain) เป็นอาการของการพิมพ์ที่เม็ดสกรีนบนแผ่นพิมพ์มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดสกรีนบนเพลท โดยปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าใหญ่มากจะทำให้สีของงานพิมพ์ผิดเพี้ยนไปและความลึกของภาพจะน้อยลงโดยเฉพาะบริเวณที่มืด

โมเร่ (Moire) มักเรียกอาการดังกล่าวว่าการเกิดลายเสื่อ เป็นปรากฏการณ์ที่รูปแบบของเม็ดสกรีนเมื่อพิมพ์สีทับซ้อนกันมีความผิดเพี้ยนไปเนื่องจากพิมพ์สีเหลื่อมฉากไของบางสีซ้อนไม่ตรงกัน หรือองศาของเม็สกรีนบางสีผิดไป หรือเม็ดสกรีนมีการเคลื่อนตัวหรือไหวตัวหรือมีรูปบิดเบี้ยว

โมลผ้ายาง เพลากระบอกกลมในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพื่อพันผ้ายางรอบกระบอกนี้ เมื่อหมุนผ่านกระบอกเพลทจะรับภาพจากเพลทแล้วถ่ายทอดภาพที่ได้ไปกระดาษที่ใช้พิมพ์

โมลเพลท เพลากระบอกกลมในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพื่อพันเพลทรอบกระบอกนี้ เมื่อหมุนผ่านลูกหมึกจะเกิดภาพหมึกแล้วถ่ายทอดภาพที่ได้ไปยังกระบอกผ้ายาง

โมลเหล็ก เพลากระบอกกลมในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพื่อให้กระดาษที่วิ่งผ่านพันรอบกระบอกนี้ เมื่อผ่านกระบอกผ้ายางก็จะรับภาพจากผ้ายางให้ปรากฏบนกระดาษที่ใช้พิมพ์

เย็บกี่ทากาวกรรมวิธีในการยึดเล่มหนังสือให้ติดกัน เริ่มจากการจัดเก็บหน้าหนังสือเป็นชุด ๆ เย็บที่สันแต่ละชุดด้วยด้ายให้ติดกัน เก็บรวมชุดทั้งหมดให้ครบเล่ม แล้วทากาวหุ้มปก

เย็บกี่หุ้มปกแข็งกรรมวิธีคล้ายกับเย็บกี่ทากาว ต่างกันตรงที่มีขั้นตอนการนำกระดาษแข็งหนามาหุ้มด้วยกระดาษบางที่มีภาพพิมพ์หรือกระดาษ/ผ้าสำหรับทำปก แล้วจึงนำปกมาติดกับตัวเล่ม

เย็บมุงหลังคากรรมวิธีการยึดเล่มหนังสือให้ติดกันโดยใช้ลวดเย็บที่สันหนังสือด้วยเครื่องเย็บ ปกติโรงพิมพ์จะแนะนำเย็บ 2 จุดโดยมีระยะห่างกันพอประมาณเพื่อไม่ให้เนื้อในแต่ละแผ่นขยับไปมา

รีม หน่วยวัดจำนวนแผ่นกระดาษ เท่ากับ 500 แผ่น กระดาษที่บรรจุขายและส่งให้โรงพิมพ์จะถูกห่อและขายเป็นรีม

ลูกกาว ลูกกลิ้ง (Roller)ในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีหน้าที่นำพาหมึกจากรางหมึกผ่านชุดลูกกลิ้งนี้ซึ่งจะกระจายหมึกคลึงหมึกและส่งต่อหมึกให้มีความหนาของหมึกที่สม่ำเสมอไปยังโมลเพลทเพื่อสร้างภาพต่อไป

ลูกน้ำ ลูกกลิ้ง (Roller)ในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีหน้าที่นำพาเยื่อน้ำส่งต่อให้โมลเพลทเพื่อกระจายไปตามบริเวณที่ไม่ต้องการให้หมึกมาติดผิวของเพลทเพื่อการสร้างภาพต่อไป

สกัม (Scum) อาการที่เยื่อน้ำบนแผ่นเพลทน้อยจนทำให้หมึกพิมพ์ไปเกาะอยู่บนบริเวณทั่วไปของเพลทแทนที่จะเกาะเฉพาะบริเวณที่เป็นเม็ดสกรีน งานพิมพ์จึงดูเลอะหมึกตามไปด้วย

สีซีด ภาพพิมพ์บนชิ้นงานบางครั้งดูซีดกว่าที่ควรเป็นเมื่อเทียบกับปรู๊ฟ แม้ช่างพิมพ์จะพยายามจ่ายหมึกเพิ่ม ปัญหานี้อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ประการหนึ่งคือ ปล่อยเยื่อน้ำบนเพลทมากเกินไป จนหมึกจากลูกหมึกไม่สามารถส่งผ่านลงมาที่เพลทได้เท่าที่ควร

ไสสันทากาวกรรมวิธีในการยึดเล่มหนังสือให้ติดกันโดยการไสสันหนังสือด้วยเลื่อยเหล็ก เสร็จแล้วทากาวที่สัน นำปกมาหุ้มติดกับตัวเล่ม ปัจจุบันโรงพิมพ์จะใช้เครื่องไสสันทากาวอัตโนมัติ

หน้าแทรก ในที่นี้หมายถึงหน้าที่ถูกนำมาแทรกเข้าไปในหน้ายกตอนเก็บเล่มหนังสือ การมีหน้าแทรกอาจเป็นเพราะใช้กระดาษคนละชนิดกันหรือภาพพิมพ์มีจำนวนสีพิมพ์ไม่เท่ากัน หน้าแทรกทำให้การเก็บเล่มลำบากและใช้เวลา

หน้ายก การพิมพ์หนังสือในโรงพิมพ์ หน้ายกคือจำนวนหน้าที่ได้จากการพับแผ่นพิมพ์ 1 แผ่นซึ่งมีขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว หรือ 17.5 x 24 นิ้ว หากพับ 1 ครั้งได้ 4 หน้าเรียก 4 หน้ายก หากพับ 2 ครั้งได้ 8 หน้า เรียก 8 หน้ายก ฯลฯ

หมึกน้ำมันพืช หมึกที่ใช้น้ำมันพืชเป็นสารพื้นฐานในการทำหมึกแทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียม ถือว่าเป็นหมึกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต่อช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์ สัมผัสอาหารได้ และง่ายต่อการกำจัด

หมึกสะท้อนแสง เป็นหมึกทีมีส่วนผสมของสารสะท้อนแสง เมื่อโรงพิมพ์นำไปใช้พิมพ์งานภาพที่มีสีสะท้อนแสงจะสว่างตามแสงที่ส่องกระทบไป มีเฉดสีให้เลือกหลายเฉดสี

หมึกสีพิเศษ หมึกที่ใช้ในโรงพิมพ์ปกติจะเป็นหมึกของแม่สี 4 สีเพื่อพิมพ์ภาพได้สีเหมือนจริงตามต้นฉบับ แต่ในบางครั้งจะมีความต้องการพิมพ์สีที่ต่างออกไปสำหรับงานพิมพ์สีเดียว สองสี สามสี หรือพิมพ์เป็นสีที่ห้าเพิ่มจากแม่สีทั้งสี่ สีพิเศษนี้ ถ้าใช้น้อยทางโรงพิมพ์จะเป็นผู้ผสมจากแม่สี ถ้าใช้ปริมาณมาก มักจะสั่งจากผู้ผลิตหมึกพิมพ์

อัดเพลท การสร้างภาพเม็ดสกรีนลงบนเพลทโดยนำฟิล์มแยกสีมาทาบบนเพลทที่เคลือบน้ำยาแล้วฉายแสง นำเพลทไปล้างส่วนที่ไม่เป็นไม่สกรีนจะถูกกัดลึกลงไป ทำให้เกิดภาพสกรีนขึ้นแล้วนำไปใช้พิมพ์งานต่อไป