19 Sep 8.5.2 การชี้บ่งและการสอบกลับได้
องค์กรต้องใช้มาตรการต่างๆที่เหมาะสมเพื่อชี้บ่งผลลัพธ์เมื่อมีความจำเป็นเพื่อให้มั่นใจการสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์และบริการ
องค์กรต้องชี้บ่งสถานะผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการตรวจติดตามและตรวจวัด ตลอดการผลิตและการส่งมอบบริการ
(เพื่อให้รู้สถานะงานในแต่ละกระบวนการ ตั้งแต่รับวัตถุดิบจนถึงจัดส่ง วัตถุประสงค์เพื่อใม่ให้นำไปใช้ผิดหรือจัดงานผิด)
องค์กรต้องควบคุมการชี้บ่งที่มีลักษณะเฉพาะ เมื่อการสอบกลับเป็นข้อกำหนดและต้องเก็บรักษา เอกสารสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อให้สามารถทำการสอบกลับ
(ต้องสร้างระบบการทวนกลับ LOT ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงงานสำเร็จรูป วัตถุประสงค์เพื่อเวลามีปัญหาสามารถเช็คย้อนกลับได้และก็นำมาใช้ในการวิเคราะห์หาข้อมูลได้ ทางองค์กรอาจจะมีการตั้ง LOT การบ่งชี้เช่น Production Lot: 8A1502 (8= year:2018, A= Month:Jan, 15 =date:15 , 02 = shift2 เป็นต้น))
การชี้บ่งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าได้รับ
(สามารถชี้บ่งได้เช่นเราผลิตงาน 10,000 ชิ้นวันที่ 1/2/2018 เราต้องมีระบบในการบันทึกแล้วย้อนบอกได้เช่น ได้ส่งงานของ Lot ของวันที่1 ไปโดยส่งไป วันที่ 4/2/18 จำนวน 5,000 ชิ้น, 6/2/18 จำนวน 5,000 ชิ้น)
ชี้บ่งผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดและที่ผู้ใช้
(เช่นตัวอย่างถุงลมมีปัญญาในท้องตลาด(ผู้ใช้รถ) เราต้องเช็คได้ว่าเป็นLOT อะไร LOT นี้มีจำนวนเท่าไร)
วิเคราะห์ข้อกำหนดของการสอบกลับได้ของภายในองค์กร ลูกค้าและกฎหมายข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์ยานยนต์ทั้งหมด
(บ้างผลิตภัณฑ์มีข้อกำหนด้านกฎหมาย เช่นตัวถังรถหรือเครื่องยนต์จะต้องมีเลข VIN Number ก็ต้องระบุให้สอดคล้องกับกฎหมาย บ้างผลิตภัณฑ์จะต้องมีการระบุเครื่องหมายในการบ่งชี้ เช่น มอก, CE Mark, DOT Mark เป็นต้น)
การจัดทำแผนการสอบกลับได้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามระดับความเสี่ยงเเผนเหล่านี้
(ถ้างานมีความเสี่ยงอาจจะจัดทำแผน ลองทดสอบหรือเช็คการทวนสอบกลับ LOT ว่าสามารถทวนสอบกลับได้หรือไม่ ข้อมูลเก็บไว้มีหรือไม่)
ต้องกำหนดระบบการสอบกลับได้ กระบวนการและวิธีการที่เหมาะสมตามผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และสถานที่ผลิต
(ทำระบบในการทวนสอบกลับ เช่น ระบุในแต่ละกระบวนการว่าเราสามารถทวนสอบกลับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ย่อย อย่างไร เช่นบ้างกระบวนการอาจจะสอบกลับได้งานใบเบิก หรือ ใบรายงานการผลิต หรือใบจัดเตรียมวัตถุดิบเป็นต้น)
ระบุผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและ/หรือที่ต้องสงสัย
(ต้องมีการบ่งชี้งานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและ/หรือที่ต้องสงสัย เช่นการติดป้ายสีแดง สีเหลืองหรือการที่ระบุMark ลงไปที่ชิ้นงาน)
เเยกผลิตภัณฑ์ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเเละ/หรือที่ต้องสงสัยออกมา
(การแยกชิ้นงานและใส่ในภาชนะที่มีการบ่งชี้ เช่น กล่องเขียว กล่องแดงเป็นต้น )
ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับเวลาตอบสนองของลูกค้าและ/หรือกฎหมายข้อบังคับ
( เช่นบ้างลูกค้า หรือ มาตรฐานระบุว่าเวลามีปัญหาหรือ Recall จะต้องสามารถทวนสอบกลับ LOT และสรุปข้อมูลภายใน24 hr. เป็นต้น)
เก็บรักษาข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร
การชี้บ่งของแต่ละผลิตภัณฑ์เเบบจัดเรียงตามลำดับ หากมาตรฐานของลูกค้าหรือกฎหมายข้อบังคับได้กำหนดไว้
(บ้างผลิตภัณฑ์ต้องระบุวันผลิต หรือ LOT ผลิตได้ เช่นตัวอย่างข้างต้นในการระบุLOT บ้างผลิตภัณฑ์ เช่น Safety PART อาจจะต้องระบุได้ถึง Serial number: ซึ่งการประยุกต์ใช้อาจจจะต้องนำ BAR CODE หรือ QR CODE มาประยุกต์ใช้ )
การชี้บ่งเเละการสอบกลับได้ไปยังผลิตภัณฑ์ที่จัดหาจากภายนอก
(จะต้องทำระบบในการระบุ LOT ไปจนถึงงานที่ส่งยังผู้จัดหาจากภายนอก หรืองานจ้างทำจากภายนอกต้องระบุLOT ได้)
เพิ่มเติม: การระบุ LOT สำหรับการผลิตควรระบุได้จนถึงเครื่องที่ผลิต หรือ LINE ที่ผลิต หรือ Mould ที่ใช้การผลิต
เช่นถ้าเราผลิต Machining งานตัวเดียวกันแต่เราผลิตจาก 2 เครื่องเราจะต้องแยกได้ว่าผลิตจากเครื่องไหน เช่น Programในการ machine จะทำให้เกิดเส้นที่ชิ้นงานไม่เหมือนกันระหว่างสองเครื่องเป็นต้น ถ้ามี mould มากกว่า 1ตัวก็มีการจดบันทึกว่าผลิตใช้ Mould เบอร์อะไรเป็นต้น
บ้างครั้งก็มีการบ่งชี้พนักงาน โดยการใช้สีที่ต่างกัน รหัสเลขที่ต่างกัน จุดที่ MARK ที่อยู่คนล่ะที่เพื่อให้สามารถทวนย้อนกลับได้ว่าใครผลิตหรือใครเป็นคนตรวจชิ้นงาน
สำหรับการ Rework or repair ชิ้นงานก็ควรที่จะทวนสอบย้อนกลับได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการ MARK ที่ชิ้นงานรวมถึง CODE เพื่อให้ทราบว่าเป็นการ Rework เรื่องอะไรมา.
ผู้เขียน: สุขุม รัตนเสรีเกียรติ
ที่ปรึกษาและผู้ตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ