PMC Expert | Efficiency VS Effectiveness
1020
post-template-default,single,single-post,postid-1020,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Efficiency VS Effectiveness

Efficiency VS Effectiveness

ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล

Efficiency VS Effectiveness

 

สำหรับข้อกำหนด  ISO9001: 2015  ได้มีการระบุให้ทางองค์กรมีการจัดตั้งวัตถุประสงค์คุณภาพ  บางครั้งในหลายๆองค์กรจะเรียกสั้นๆว่า  KPI. ซึ่งการจัดทำวัตถุประสงค์คุณภาพควรจัดตั้งทั้งการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในแต่ละกระบวนการ (Process)

 

ประสิทธิภาพ (Efficiency) กับ ประสิทธิผล (Effectiveness) ต่างกันอย่างไร ?

ประสิทธิภาพ (Efficiency)  = Output/ Input x 100

ประสิทธิภาพจะเป็นการวัด งานที่เราทำได้เทียบกับทรัพยากรที่เราใส่เข้าไปหรือป้อนเข้าไป

โดยส่วนใหญ่ประสิทธิภาพจะเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการ Organization Need

ประสิทธิผล (Effectiveness) = Outcome/Input x 100

ประสิทธิผลจะวัดจากผลลัพท์ที่ได้เทียบกับทรัพยากรที่เราใส่เข้าไปหรือป้อนเข้าไป

สำหรับประสิทธิผลส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ  Customer Need.

 

ถ้าดูจากสูตร หรือ นิยามอาจจะยังเข้าใจยากอยู่เรามาดูตัวอย่างกัน

เช่นเราเป็นเจ้าของร้านทำเค้ก ถ้าเราอยากจะวัดผลการทำงานพนักงานเราจะวัดหัวข้ออะไรบ้าง

สิ่งที่เราก็ต้องการจากการทำงาน ก็คืออยากได้พนักงานที่แต่งหน้าเค้กได้เร็ว  และ ก็แต่งหน้าเค้กสวยด้วย

 

ดังนั้นถ้าเราจับเวลามาตรฐานการทำงาน โดยปกติพนักงานแต่งหน้าเค้กต้องแต่งหน้าเค้กได้วันละ 100 ชิ้นต่อวัน

รับรับพนักงานใหม่มาใหม่หนึ่งคน  พนักงานใหม่สามารถแต่งหน้าเค้กได้ 80  ชิ้นต่อวัน

ประสิทธิภาพการทำงาน  = 80/100 x 100 = 80%

แต่พนักงานอีกคน สามารถทำเค้กได้ 100 ชิ้นต่อวัน แต่ผลออกมาได้งานดี  90 ชิ้น 10  ชิ้น

ประสิทธิผลการทำงาน  =  90/100 x 100 = 90%

ดังนั้นสิ่งที่เจ้าของร้านเค้กต้องการก็คือทั้งสองอย่างคือทำงานได้เร็ว (ประสิทธิภาพ) และได้ของดีตามมาตรฐานที่กำหนด (ประสิทธิผล)

 

ดังนั้นสำหรับโรงงานการผลิตก็เช่นเดียวกันก็ต้องมีการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ตัวอย่างประสิทธิภาพเช่น  % Efficinecy, % Productivity, % Uptime ,etc.

ตัวอย่างประสิทธิผล เช่น  % Defect, % Yield, etc.

 

สำหรับธุรกิจบริการก็สามารถวัดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลได้เช่นเดียวกัน

เช่นเราเป็นเจ้าของธุรกิจ  Call Center   เราก็สามารถวัดผลการทำงานของพนักงานให้บริการ  Call Center ดังนี้

ตัวอย่างประสิทธิภาพเช่น  จำนวนที่ให้บริการต่อวัน,  เวลาที่ให้บริการเฉลี่ยต่อสาย ,etc.

ตัวอย่างประสิทธิผล เช่น  ไม่มีการโทรมาสอบถามซ้ำเรื่องปัญหาเดิม = 0, สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ = 90%, คะแนนความพีงพอใจลูกค้า > 80%, etc.

 

สำหรับกระบวนการ  Support ก็สามารถวัดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลได้เช่นเดียวกัน

เช่นเรารับน้อง  DCC   มาใหม่เราอยากจะวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงานของน้องก็สามารถวัดได้เช่นกัน

ตัวอย่างประสิทธิภาพเช่น  ต้องขึ้นทะเบียนเอกสารใหม่ให้เสร็จภายใน  2 วัน 100% ,etc.

ตัวอย่างประสิทธิผล เช่น  เอกสารที่ขึ้นทะเบียนในระบบจะต้องไม่ผิดพลาด  หรือ เอกสารผิดพลาด = 0 etc.

 

ใน OKR : Objective and key result

ได้มีการระบุว่า  Key result  สามารถวัดได้ทั้ง Outcome และ    Mile stone ถ้ามีการทบทวนว่า  Key result หัวข้อไหนเป็นประสิทธิภาพกับประสิทธิผลจะได้หัวข้ออะไรบ้างมาดูตัวอย่างกัน

 

 

สำหรับกระบวนการโครงการ ก็สามารถวัดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลได้เช่นเดียวกัน

เช่นเราเป็นบริษัทออกแบบและติดตั้งเครื่องจักร  Powder Conveyer system  ก็จะวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงานของ  Project management planning ได้เช่นกัน

ตัวอย่างประสิทธิภาพเช่น  งานจะต้องเสร็จไม่น้อยกว่า  80% เทียบกับแผนงานหรือ   Mile stone,   จำนวนคนที่ใช้  (Manday)  ต้องไม่เกิน  Budget,   Control cost  ใช้ไม่เกิน  Budget  หรือ  +,- ไม่เกิน  10% etc.

ตัวอย่างประสิทธิผล เช่น   เครื่องจักรต้องผลิตงานได้หลังจากติดตั้ง,  เครื่องจักรต้องส่งแป้งได้ตาม  Specification  ของลูกค้า, Cpm  เครื่องจักรต้องมากว่า  > 1.67  etc.

 

 

 

สุขุม รัตนเสรีเกียรติ

ที่ปรึกษาระบบ  ISO9001, IATF16949

ISO14001, ISO45001.

PMC Expert .,Co. Ltd.

www.pmcexpert.com

Tel: 0652639655