08 Sep Management of Production Tooling and Test, Inspection Tooling
การบริหารเครื่องมือการผลิต และเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิต การทดสอบและการตรวจสอบ
การบริหารและการดูแลเครื่องมือที่ช่วยในการผลิต (Production Tooling) มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการดูแลรักษาเครื่องจักรที่ในในการผลิต เพราะว่าถ้าเครื่องมือไม่พร้อมใช้งานก็อาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตชิ้นงานส่งงานให้กับลูกค้า ซื่งอาจจะส่งผลต่อการส่งมอบ หรืออาจทำให้ลูกค้าหยุดการผลิตได้ หรือถ้าเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอก็อาจจะทำให้เกิดชิ้นงานเสีย หรือ ความแม่นยำของงานไม่ได้ตามสเปคของลูกค้าที่กำหนด สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบและตรวจสอบก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะถ้าไม่มีการดูแลที่ดีพอก็อาจจะทำให้ผลการวัดผลิตภัณฑ์ได้ค่าไม่ถูกต้องหรือ ค่าที่ได้ในแต่ละครั้งมีความคาดเคลื่อนจากค่าจริง (Bias) ดังนั้นทางองค์กรควรจะต้องมีระบบการดูแลรักษาเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต การทดสอบและตรวจสอบ
เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตในการผลิตคืออะไร ?
คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สอดคล้องตามข้อกำหนดของลูกค้า เช่น
กระบวนการ: Plastic injection เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Mould,
กระบวนการ: Press เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Die,
กระบวนการ: Cutting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ ใบมีด,
กระบวนการ: Machining เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Cutting tool,
กระบวนการ: Aluminum Die Casting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Mould,
กระบวนการ: งานหล่อ Metal Casting เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Pattern,
กระบวนการ: Painting or plating เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Jig ที่ใช้แขวนชิ้นงาน,
กระบวนการ: พิมพ์ตะกั่ว หรือ Solder print เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ stencil,
กระบวนการ: Assembly line เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตคือ Fixture ที่ใช้จับยึดชิ้นงาน เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบและตรวจสอบคืออะไร ?
เครื่องมือที่ใช้ช่วยในการจับยึดชิ้นงานเพื่อให้การทดสอบและตรวจสอบ ได้ค่าที่แม่นยำ ถูกต้อง
เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบและตรวจสอบมีดังต่อไปนี้เช่น CF ที่ใช้วัดชิ้นงาน, อุปกรณ์ Fixtureที่ใช้จัดยึดชิ้นงานในการตรวจสอบวัด Tensile, อุปกรณ์ที่ใช้จับยึดชิ้นงานในการวัดค่าชิ้นงานด้วย Optical Gauge หรือ Fixtureที่ใช้จัดยึดชิ้นงานในการทดสอบการรั่ว Leak Test เป็นต้น
ทางองค์กรจะต้องมีการดูแลรักษาเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต การทดสอบและตรวจสอบ ดังต่อไปนี้
1) สิ่งอำนวยความสะดวกเเละบุคลากรที่ใช้ในการบำรุงรักษาและซ่อมแซม กำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ใครเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องมือ ใครเป็นคนทำการบำรุงรักษา (Preventive maintenance) เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต การทดสอบและตรวจสอบ หรือใครเป็นผู้ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือก่อนการใช้งาน
2) การจัดเก็บและการนำกลับมาใช้ องค์กรควรมีพื้นที่ในการจัดเก็บและบ่งชี้ที่ดีเช่น ทำชั้นสำหรับการวาง เพื่อที่จะไม่ให้เครื่องมือชำรุด และสะดวกในการค้นหาผู้เขียนเคยไปให้คำปรึกษาอยู่บริษัทหนึ่ง ถ้าเป็นเครื่องมือวัดมีการจัดเก็บที่ดี แต่พอเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต วางกองรวมๆกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องมือชำรุดบ้าง รวมถึงทำให้เกิดของเสียในระหว่างการผลิตที่เกิดจากเครื่องมือ
3) การปรับตั้ง เมื่อเครื่องมือใช้ไปนานๆ อาจจะเกิดการหลวม หรือ ความแม่นยำลดลง องค์ควรมีระบบในการปรับตั้ง หรือขั้นแน่นกลับคืนสภาพ
4) แผนงานการเปลี่ยนเครื่องมือที่สึกหรอได้ง่าย เช่นมีแผน Preventive maintenance ซึ่งสามารถจัดทำเป็นรอบเวลา เช่นเปลี่ยนทุก 3 เดือน หรือเปลื่ยนเครื่องมือที่สึกหรอตามอายุการใช้งานจริง เช่นเก็บข้อมูลเป็นจำนวนครั้ง Shot ในการใช้งาน เมื่อถึงจำนวน Shot ให้ทำการเปลี่ยน เช่น มีดกลึง ดอกสว่าง ใบมีด แบบที่ใข้ฉีดพลาสติก หรือ แม่พิมพ์ปั๊มเป็นต้น
5) การจัดทำเอกสารการดัดแปลงแก้ไขการออกแบบเครื่องมือ รวมถึงระดับการเปลี่ยนแปลงวิศวกรรมของผลิตภัณฑ์ ควรที่จะมีเก็บ Revision การเปลี่ยนแปลงของเครื่องมืออย่างเป็นระบบ ผู้เขียนเคยไป Audit และพบบ่อยๆ คือมีการตอบ Customer complaint และมีการแก้ไข Production Tooling เช่น Mould, Die, Cutting Tool แต่พอออดิตเรื่องระบบการควบคุม Engineering change ไม่ได้มีการอออกเอกสาร Change control หรือ Engineering change request.
6) การแก้ไขปรับปรุงเอกสารตามการดัดแปลงแก้ไขของเครื่องมือ เช่นต้องมีการ Update Tooling Drawing ผู้เขียนพบบ่อยๆระหว่างออดิต คือ ได้มีการยก Mould หรือ Die ไม่ทำการแก้ไขเพื่อลดของเสีย แต่Drawing tooling ไม่ได้มีการ update พอถึงรอบการจัดทำ เครื่องมือ ใหม่เพื่อมาทดแทนตัวเดิม ทางองค์กรก็ส่ง Tooling drawing ที่เป็นฉบับเก่าก่อนการแก้ไขไปจัดทำเครื่องมือมา หลังจากนั้นปัญหาเรื่องเดิมซ้ำขึ้นมาอีก
7) การชี้บ่งเครืองมือ เช่น หมายเลขลำดับ หรือหมายเลขทรัพย์สิน การระบุสถานะเครื่องมือนั้นๆ
8) องค์กรควรมีการจัดเตรียม Spare part ของ Tooling เพื่อมีพร้อมใช้ในการเปลี่ยนช่วง PM หรือกรณีเครื่องมือชำรุด
9) องค์กรควรมีการจัดเก็บประวัติ Tooling เช่น เคยซ่อมมากี่ครั้ง หรือ เคย PM มากี่รอบ หรือ อายุการใช้งานไปกี่ Shot แล้ว และ รายละเอียดการซ่อม ซึ่งเอกสารนี้มีความสำคัญในการที่ให้ผู้บริหาร หรือ ลูกค้าใช้ในการตัดสินใจในการสั่งซื้อเครื่องมือใหม่มาทดแทนของเก่า
สำหรับการลงข้อมูลเรื่องประวัติการซ่อม ควรเก็บประวัติแยกระหว่างเครื่องจักรเสียหรือเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตเสีย เช่นตัวอย่าง มี Line Automation เป็น line ต่อเนื่อง สำหรับขั้นตอนการทำงานที่สอง (process 2) เป็นเครื่องปั๊ม (Press process) กรณีเครื่องจักรไม่สามารถผลิตงานได้ เนื่องมาจากกระบอกไฮโดรลิกรั่วทำให้ต้องหยุดไลด์การผลิตกรณีนี้ให้ลงประวัติในเครื่องจักรเสีย แต่ถ้าเครื่องปั๊มไม่สามารถผลิตงานได้ เรื่องจาก Die แตกกรณีนี้ให้ลงในประวัติของแม่พิมพ์เสียเป็นต้น
ผู้เขียน
สุขุม รัตนเสรีเกียรติ
Sukhum Rattanasereekiat
ที่ปรึกษา/ Trainer บริษัท PMC Expert.
065 2639655