PMC Expert | Poka Yoke
888
post-template-default,single,single-post,postid-888,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Poka Yoke

Poka Yoke

Poka Yoke คืออะไร
Poke Yoke ได้รับการพัฒนาโดยโตโยต้าและคล้ายกับ Jidoka แนวคิดของ Poka Yoke คือการป้องกันความผิดพลาดจากการเป็นข้อบกพร่อง ความผิดพลาดนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจริงในการเข้าถึงลูกค้านั้นสามารถป้องกันได้ เป้าหมายคือการสร้างรูปแบบการควบคุมคุณภาพที่เน้นข้อบกพร่องโดยอัตโนมัติและ ป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการ หรือที่เกิดจากมนุษย์

ทำไม่ต้องใช้ Poka Yoke?
เครื่องมือถูกคิดค้นเนื่องจากความผิดพลาดของมนุษย์ มนุษย์ที่ทำหน้าที่ผลิตซ้ำ ๆ ในแต่ละวันสามารถพลาดข้อผิดพลาดและข้อบกพร่องทั่วไปได้ง่ายมาก ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งจำเป็นในการปรับปรุงกระบวนการผลิต

ตัวอย่างชีวิตจริงของ Poka Yoke สัญญาณเตือนภัยที่จะดับอัตโนมัติเมื่อคุณออกจากรถโดยไม่ต้องปิดไฟหน้า อีกตัวอย่างหนึ่งคือสายพานลำเลียงที่ปฏิเสธผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักน้อย เป้าหมายคือเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดโดยอัตโนมัติโดยไม่มีการตรวจสอบโดยมนุษย์

Poka yoke  เป็นคำภาษาญี่ปุ่น แต่สำหรับภาษาอังกฤษ มีคำที่น่าสนใจอยู่   2  คำคือ   Error Proofing, Mistake Proofing

Error Proofing เป็นกระบวนการที่ไม่ทำให้เกิดของเสีย เช่น ใส่งานผิดด้านเครื่องจักรไม่ทำงาน หรือ ใส่สกรูไม่ครบเครื่องจักรทำงานต่อไม่ได้

Mistake Proofing เป็นกระบวนการตรวจจับความผิดพลาด เมื่อเกิดของเสียแล้ว เช่น หลังจากกลึงงานมีเครื่องวัดขนาดงาน ถ้าขนาดงานไม่ได้ความสเปคจะถูกผลักไปที่กล่องของเสีย แต่ถ้างานดีจะไปที่กระบวนการถัดไป

 

 

Poka yoke คือการป้องกันความผิดพลาดจากการเป็นข้อบกพร่อง
คนไทยเราเรียกว่าตัวกั้นโง่
 
Product Design
1. การป้องกันความผิดพลาดอาจจะทำได้ตั้งแต่การออกแบบ ผลิตภัณฑ์เช่น ฝาปิดถังน้ำมันรถเมื่อสมัยก่อนจะมีแต่ฝาสำหรับปิดถังน้ำมันซึ่งปัญหาที่พบคือหลังจาก เปิดฝาถังน้ำมันแล้ว ผู้ขับรถก็จะวางฝาที่หลังคารถบ้าง วางไว้ที่จุดเติมน้ำมันบาง เมื่อเติมเสร็จ เริ่มปิดฝา
 
การออกแบบสมัยใหม่ก็จะออกแบบที่แขวนฝาน้ำมัน หรือมีเชือกผูกกับฝาน้ำมันพื่อป้องกันลืม
Process Design ป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย
2. ป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย เช่นมีเซนเซอร์ตรวจจับ ถ้าใส่ Screw ไม่ครบไม่สามารถ ทำการขั้นสกูรได้ หรือที่กล่องหยิบชิ้นงาน จะมีเซนเซอร์มือจะหยิบชิ้นงานจะต้องหยิบผ่านผ่านเซนเซอร์ ถ้ามือผ่านไม่ครบตามเซนเซอร์ที่กำหนด เครื่องก็จะไม่สามารถกดชิ้นงานได้
 
Process Design สำหรับความปลอดภัย
3. ผู้เขียนได้มีโอกาสไปตรวจบริษัทผลิตยางรถยนต์ที่หนึ่งประทับใจกับการออกแบบเครื่องจักรเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากเครื่องจักรเครื่องนี้จะเอาลวด Wire bead มาประกอบกับแผ่นยางซึ่งจะม้วนงานออกมาเป็นม้วน โดยลักษณะการทำงานของเครื่องอาจจะมีจุดที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานทางบริษัทจึงได้มี List จุดความเสี่ยงและมีการทำ Sensor ต่างๆไว้ที่เครื่อง
 
โดยบริษัททั่วๆไปก็จะมีใบตรวจสอบเครื่องจักรประจำวันสำหรับการตรวจเซนเซอรว่า เซนเซอร์ทำงานหรือเปล่าพนักงานก็ตรวจบ้างไม่ตรวจจริงบ้าง แต่สำหรับที่บริษัทนี้ก่อนเริ่มงานจะต้องทำการเช็คเซนเซอร์แต่ละจุดว่าทำงานจริงก่อนในแต่ละจุดเซนเซอร์ ถ้าเราไม่ทดสอบจริงเครื่องจักรจะไม่สามารถเริ่มผลิตได้ เครื่องจักรจะ Interlock กับ Program PLC ตอนเริ่มงาน
 
4. Tooling and mold design สำหรับป้องกันความเสียหายของแม่พิมพ์
ผู้เขียนได้เคยไปตรวจงานปั๊ม (Press Process) บริษัทหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ทันสมัย เป็นเครื่องปัํมแบบ Progressive die สามารถปั๊มงานได้ 500 SPM วันหนึ่งพบว่า ของเสียในกระบวนการผลิตมีมาก เนื่องจากเศษเหล็กที่ปั๊มจะต้องไหลลงไปที่ die ด้านล่าง แต่ปรากฎว่ามีเศษเหล็กติดที่แม่พิมพ์ จึงทำให้งานเสียหาย และทำให้แม่พิมพ์ชำรุด กว่าจะเห็นว่างานเสียก็ใช้เวลานานและเกิดของเสียจำนวนมาก
จึงได้มีการติดเซนเซอร์ บริเวณที่แม่พิมพ์ ถ้าเศษเหล็กไม่ไหลออกมา แปลว่ามีเศษเหล็กค้างที่แม่พิมพ์ เครื่องก็จะหยุดการทำงาน
ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดของเสีย และยังช่วยทำให้แม่พิมพ์ไม่ชำรุดอีกด้วย
สำหรับ Poka Yoke  สามารถออกแบบเป็นแบบ
1.หยุดการทำงาน
บริษัทที่ผมไปให้คำปรึกษาที่หนึ่ง เป็นโรงงานที่ผลิตลวดที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในกระบวนการจะมีการลำลวดเส้นเล็กๆหลายๆเส้นมามัดรวมกันเป็นเส้นใหญ่หนึ่งเส้น ปัญหาที่พบคือเส้นลวดเป็นเสี้ยน  ถึงไม่สามารถใช้ได้เป็นของเสีย แต่ถ้าม้วนรวมกันเป็นม้วนใหญ่แล้วจะตรวจสอบได้อยาก
จึงได้ทำ  Poka yoke ขึ้นด้วยถ้าเส้นลวดเป็นเสี้ยน เส้นลวดจะไม่กลม มีลวดเส้นเล็กที่ขาดแล้วยืนออกมา ดังนั้นจึงทำ Die  ที่มีรูขนาดให้เส้นลวดผ่าน  ถ้าเส้นลวดเป็นเสี้ยนจะทำให้  Die   นี้ขยับไปโดนเซนเซอร์เพื่อให้เครื่องจักรหยุด  พนักงานก็จะมาต่อเส้นลวดที่ม้วนใหม่ Die ขยับไปโดนเซนเซอร์เพื่อให้เครื่องจักรหยุด เป็นตัวอย่างการหยุดการทำงานของเครื่องจักร
2.บังคับการทำงาน
การออกแบบชิ้นงานไม่ให้ใส่กลับด้าน หรือออกแบบกล่องให้ใส่ได้ถูกด้านของชิ้นงาน เช่น งานซ้าย กับ งานขวาเป็นต้น
หรือ การบังคับการทำงาน คือให้เครื่องจักรหมุนไปทำงานที่ด้านเดียวเท่านั้นเพื่อป้องกันการที่พนักงานทำงานหมุนชิ้นงานสลับด้านเป็นต้น
3. เตือนการทำงาน
การชั่งน้ำหนัก  เครื่องชั่งสามารถตั้งน้ำหนักที่ต้องการรวมถึงค่าบวกลบที่ยอมรับ  ถ้าชั่งน้ำหนักได้ตามที่ต้องการ นอกจากดูตัวเลขแล้วไฟเขียวก็จะขึ้น
แต่ถ้าชั่งน้ำหนักแล้วยังไม่ได้ตามค่าที่ต้องการก็จะมีไฟสีแดงโชว์   และ ก็ไม่สามารถพิมพ์  Bar code label  มาติดที่ถุงได้ซึ่งเป็นการป้องกันความผิดพลาดอีกชั้นหนึ่ง
หรือเป็นการเตือนต่างๆเช่น  Gas   จะหมด หรือแบตเตอรรี่มีปัญหาเป็นต้น

 

 

ผู้เขียน

Sukhum Rattanasereekiat

ที่ปรึกษา/ Quality Management system trainer

PMC Expert.Co.,Ltd.