PMC Expert | Documentation for COVID-19
1022
post-template-default,single,single-post,postid-1022,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Documentation for COVID-19

Documentation for COVID-19

ในฐานะ  QMR  หรือ เป็นคนที่ต้องดูระบบบริหารงานคุณภาพจะต้องทบทวนเอกสารอะไรบ้าง หรือจะต้องเอกสารอะไรเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ COVID 19 บ้าง?

 

สำหรับเอกสารที่อาจจะต้องทบทวนเพิ่มเติมได้แก่

Context of the organization

อาจจะต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับ  External issue เพราะว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่มาส่งผลกระทบต่อองค์กร ซึ่งสำหรับ External Issue หรือปัจจัยภายนอกอาจจะเป็นได้ทั้งอุปสรรค  และอาจจะเป็นโอกาสสำหรับบางองค์กร หรือบางธุรกิจ

สำหรับหัวข้ออุปสรรค อาจจะเป็นหัวข้อเรื่องดังนี้

1. การระบาดของ COVID 19 อาจจะส่งผลกระทบกับยอดขาย ทำให้คำสั่งซื้อลดลง   ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ดังนั้นทางองค์กรเองอาจจะต้องหาวิธีการอื่นๆในการเพิ่มยอดขาย เช่น

1.1  อาจจะต้องหาลูกค้าใหม่หรือเพื่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้นบางลูกค้าที่องค์กรยังไม่เคยติดต่อ ทางตัวแทนขายก็จะต้องหากลยุทธ์ในการขายหรือการตลาดเข้ามาช่วย เช่น 4P เป็นต้น

1.2หากลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เคยมีแต่ลูกค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ อาจจะต้องเพิ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร หรือเครื่องมือแพทย์มากขึ้น

 

1.3 หาผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเช่นเคยทำแต่โรงแรมก็มาเป็นร้านอาหารรวมถึงส่งอาหาร  Delivery เป็นต้น,  ธุรกิจ ทำตู้ไฟฟ้า  MDB  ขายก็มาทำเป็น  Turn Key  โรงไฟฟ้าขนาดเล็กเพิ่ม, ธุรกิจออกแบบเครื่องจักรติดตั้งเครื่องจักร ก็อาจจะเพิ่มธุรกิจมีเครื่องจักรให้เช่า โดยการเข้าไปติดตั้งให้ก่อนแล้วคิดค่าใช้เป็นรายชั่วโมง,  การขาย  Gas N2, CO2 โดยมีรถมาส่งเป็นถังๆ หรือเป็นรถมาเติมที่สถานีที่โรงงาน  ก็เปลี่ยนเป็นมาติดตั้งระบบทำ Gas N2, CO2 ให้ที่โรงงานลูกค้าแทนโดย ติดตั้งให้ฟรี แต่ทำสัญญาซื้อ  10  ปี,  เปลี่ยนจากธุรกิจตัดเย็บขายซื่อผ้ามาเป็น  Mask  ผ้าปิดจมูกเป็นต้น

  1. การประเมินความเสี่ยง

หลังจากที่มีการระบุ อุปสรรคหรือโอกาส ทางองค์กรควรจะทำการประเมินความเสี่ยง ที่เกิดขี้นตามการประเมินความเสี่ยงที่องค์กรมีอยู่ เช่น

 

 

  1. การระบาดของ COVID 19 กรณีที่องค์กรมีพนักงานติดโรคระบาด  Covid-19 อาจจะทำให้ต้องปิดโรงงาน หรือสถานประกอบการชั่วคราว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกค้า และความเชื่อมั่นขององค์กร รวมถึงยอดขาย

 

โดยในส่วนของอุปสรรคในหัวข้อนี้อาจจะมีมาตรการแยกออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ คือแผนการป้องกัน  และ แผนการตอบสนองหากพบว่าในองค์กรมีคนติดเชื้อ  Covid-19

สำหรับหัวข้อที่เป็นโอกาส อาจจะเป็นหัวข้อเรื่องดังนี้  เช่น โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย  โรงงานผลิตวัคซีน  โรงงานผลิตเจลล้างมือ  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อาจจะเป็นโอกาสที่ยอดขายมากขึ้นเพราะผู้บริโภคต้องการใช้มากขึ้นเป็นต้น

 

3.1 แผนฉุกเฉิน  Contingency plan  การป้องกันโรคระบาด  Covid -19

โดยองค์กรจะต้องมีการจัดทำนโยบายการป้องกันโรคระบาด  Covid-19 รวมถึงอาจจะจัดทำทีมงานสำหรับการดำเนินการป้องกัน ดังนี้

3.1.1.ทีมสุขอนามัย

จัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเช่นหน้ากากอนามัย

จัดนโยบาย และมาตรการเกี่ยวกับโรงอาหารให้มีระยะห่างในการรอซื้ออาหารหรือรับอาหาร จัดโต๊ะนั่งให้มีระยะห่าง หรือกำหนดเวลาในการข้าวใหม่ให้มีช่วงเวลาพักหลายๆช่วงเนื่องจากสถานที่ทานข้าวอาจจะลดลงเนื่องจากต้องกำหนดระยะ  social distancing.

จัดห้องน้ำให้มีระยะห่างสำหรับ อ่างล้างมือ โถปัสสวะ ดูแลรถยนต์ส่วนการของบริษัทโดยดูแลทำความสะอาดหลังจากการใช้งาน

ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร ทำประกาศ เช่น ทำประกาศทาง Line, App – HR  ของทางบริษัท ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ รวมถึง  Morning Talk  การประชุมประจำวัน

จัดเตรียมมาตรการ  รายงานสถานการณ์  นำข้อมูลที่รัฐบาลแนะนำนำมาพิจารณา ประชุม และดำเนินการ

3.1.2.ทีมสถานที่

จัดเตรียมสถานที่ จัดโต๊ะ เก้าอี้โรงอาหารในการนั่งให้เหมาะสม รวมถึง การขีดเส้น การกำหนดจัดทางเข้าออกโรงอาหารใหม่ เพื่อให้เข้าทาง ออกทางเพื่อให้ผ่านจุดล้างมือ  จัดโต๊ะ จากทานเข้าได้  4คนเป็น 2  คนอาจจะหาสถานที่ทานข้าวเพื่มเติม

กำหนดจุด และเพิ่มจุดล้างมือ  เจลล้างมือ

ควบคุมพนักงานงานในการตรอกบัตรเข้าออก  กำหนดจุดยืนให้ห่างกัน ในบ้างองค์กรเปลี่ยนอุปกรณ์จากที่   Scan   นิ้วมาเป็น  Scan  ใบหน้าแทนเพื่อลดการสัมผัส

กำหนดที่พักสูบบุหรี่  1 จุดยืนห่างกัน  1 m

3.1.3 ทีมคัดกรอง

ทำการสื่อสารกับคนภายนอก ทำการกรอกแบบ Form  การคัดกรอง

ตัวเช็คอุณหภูมิ ก่่อนเข้าทำงานทั้งพนักงานและบุคคลภายนอก

รับพัสดุ ว่างทิ้งไว้ฉีดแอลกอฮอล์พนักงานมารับพัสดุได้ตอนเย็นหรือช่วงเวลาที่กำหนด

3.1.4 ทีมพยาบาล

ถ้าอุณหภูมิสูงเกินกว่า   37.5  ต้องมีการวัดซ้ำด้วยปรอทโดยทีมพยาบาล ทำมีไข้สูงจริงไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้

คนที่กลับจากพื้นสุ่มเสี่ยง หรือ ผ่านระยะเวลากักตัวแล้ว แต่บ้างองค์กรยังให้ทำการตรวจสอบซ้ำอีกหนึ่งสัปดาห์ เช่นวัดอุณหภูมิทุกๆ 2 ชั่วโมงโดยทีมพยาบาล

 

4. แผนฉุกเฉิน Contingency plan กับ  Recovery plan สำหรับกรณีที่มีพบผู้ติดเชื้อในโรงงาน

 

องค์กรต้องมีการจัดทำแผนฉุกเฉินสำหรับ Recovery plan สำหรับกรณีที่มีพบผู้ติดเชื้อในโรงงาน

 

4.1 การแยกผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
ในกรณีที่พบพนักงานยืนยันติดเชื้อโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบการ ให้ประสานหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทำการสำรวจคนร่วมงาน ที่อยู่ในข่ายสัมผัสโรค ซึ่งต้องให้หยุดงานทันทีและกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัยหรือที่ที่คณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัดกำหนดไว้ เพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน หลังจากใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย ดังนี้

4.2 นิยามผู้สัมผัสโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนํา 2019
4.2.1. ผู้สัมผัสในครัวเรือน
สมาชิกในครอบครัว ญาติ และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขณะที่มีอาการป่วย ผู้ที่พักอาศัยในบ้านเดียวกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
4.2.2) ผู้ที่ร่วมกลุ่มเดินทางเดียวกัน เช่น บริษัทเดียวกัน
ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดินทางโดยยานพาหนะอื่น ๆ ในขณะที่มี อาการ ได้แก่ ผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ป่วย ผู้โดยสารหรือพนักงานที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย และผู้โดยสารที่อยู่ในระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร จากผู้ป่วย
4.2.3. ผู้สัมผัสใน/ ที่ทำงาน และในชุมชน
4.2.3.1) ผู้ร่วมงาน ได้แก่ กลุ่มเพื่อนที่พบปะกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะ มีอาการ และมีประวัติอาจสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย
4.2.3.2) ผู้ที่อยู่ในชุมชนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือในชุมชนอื่น ๆ และสัมผัส สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดน ไอ จาม จากผู้ป่วย

4.3 การพิจารณาปิดสถานประกอบการชั่วคราวหากพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เช่นการเลื่อนหรือยกเลิก แผนกการผลิตที่พบผู้ป่วยออกไปชั่วคราว เพื่อให้พนักงานหยุดพักรักษาตัวและลดการแพร่กระจาย ของเชื้อโรค
ควรมีการจัดทำรายชื่อว่า ใครทำแทนใครได้บ้าง ตำแหน่งไหนทำแทนกันได้บ้างเป็นต้น

สำหรับโรงงานผลิต บางบริษัทก็มีการสำรวจการทำ Stock ไปที่ผู้ขาย (Supplier) เพื่อให้มั่นใจว่าถ้าผู้ขายจะต้องหยุดโรงงานเนื่องจากสถานการณ์ COVID แล้วยังมีของ Stock ที่จะพอส่งมอบหรือไม่  หรือสำรวจว่ามี Stock กี่วัน

สำหรับโรงงาน ควรพิจารณาและประเมินว่าถ้าเกิดมีพนักงานติดเชื้อไวรัส COVID จริง อาจจะต้องใช้เวลาสำหรับคัดกรองการทำความสะอาดโรงงาน  ซึ่งถ้าทางบริษัทประเมินแล้วว่าอาจจะต้องทำการปิดโรงงานจำนวน 5 วัน ดังนั้นผู้บริหารอาจจะมีนโยบายให้กับทางโรงงานให้มีการจัดทำ Stock ล่วงหน้า 5 วันเมื่อมีสถานการณ์จริงจะได้ไม่กระทบแผนการผลิตกับลูกค้า แต่ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือต้องเช็คสถานการณ์อย่างใกล้ชิดระหว่าง Supplier และลูกค้าเพราะสำหรับบางโรงงานสั่งซื้อ Part  จากต่างประเทศเช่นที่อินโดเนียเซีย หรือ มาเลเซีย ซึ่งหลายๆโรงงานหยุดการผลิตเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องทำการเช็ค Stock  ให้ดีว่าแต่ละ Supplier มี  Stock จำนวนเท่าไรเพื่อใช้สำหรับเตรียมการผลิต

4.4 บริษัทควรมีการแจ้งต่อบุคคลที่ติดต่อหรือคู่ค้าทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพนักงานที่ติดเชื้อ เพื่อเฝ้าระวังและสังเกตุอาการเป็นเวลา 14 วัน

4.5 บริษัทจัดทำความสะอาดพร้อมฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาเคมีและเครื่องอบโอโซนในพื้นที่เสี่ยงและบริเวณโดยรอบ ภายใต้คำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงทำการปิดพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว

4.6 ขอความร่วมมือพนักงาน ให้หลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ การจัดงานต่าง ๆ ตลอดจนลดการเข้าไปในพื้นที่แหล่งชุมชน หรือสถานที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก.

สรุป เอกสารหลัก ๆ ที่ต้องพิจารณา และทบทวนในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ    Covid -19

  1. Context of the organization บริบทองค์กรในหัวข้อของ  External Issue  หรือปัจจัยภายนอก
  2. การประเมินความเสี่ยง
  3. เอกสารการจัดการ เช่น

-นโยบายการป้องกัน  Covid

– ประกาศแต่งตั้งทีมทำงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องการ  Covid

–  เอกสารหรือ  Procedure การป้องกัน   หรือ แผนฉุกเฉิน เกี่ยวกับกันป้องกัน และการ  Recovery เมื่อพบผู้ติดเชื้อ ,เป็นต้น

 

ผู้เขียน

สุขุม รัตนเสรีเกียรติ

ที่ปรึกษา/ Trainer Quality Management System

Contact: sukhum_r@yahoo.com

Tel: 0652639655