PMC Expert | Horsepower VS Torque
1334
post-template-default,single,single-post,postid-1334,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Horsepower VS Torque

Horsepower VS Torque

เวลาอ่านโบรชัวร์ รถยนต์ จะมีคำว่าแรงม้า กับ แรงบิดที่บอกสมรรถนะของรถแล้ว แรงม้ากับแรงบิดต่างกันอย่างไร “แรงม้า” คืออะไร ? แรงม้า เป็นหน่วยการวัดกำลังค่าหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมาในสมัยยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของฝั่งยุโรป ถูกคิดค้นโดย James Watt (เจมส์ วัตต์) วิศวะกรชาวสกอตแลนด์ โดยมี “ม้า” ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องทุนแรงหลักของมนุษย์ในสมัยนั้นเป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งมีการคำนวนออกมาว่ากำลัง 1 แรงม้า จะสามารถยกของหนัก 550 ปอนด์ (250 กิโลกรัม) ขึ้นสูงจากพื้น 1 ฟุต (30.48 ซม.) ได้ 1 วินาที หรือเทียบเท่ากับกำลัง 745.7 วัตต์ BHP WHP PS kW ค่าเหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร ? ค่ายผู้ผลิตรถยนต์มักจะโฆษณาตัวเลขสมรรถนะของเครื่องยนต์ด้วยการบอกตัวเลขแรงม้าสูงสุดที่รถคันนั้นๆสามารถทำได้ ซึ่งมีหลากหลายหน่วยวัดดังต่อไปนี้ “แรงบิด” คืออะไร ? แรงบิด เป็นอีกหน่วยวัดแรงกระทำที่เกิดขึ้นบริเวณเพลาขับของเครื่องยนต์ ซึ่งแรงเหล่านี้จะใช้เพื่อส่งกำลังของเครื่องยนต์ไปยังเพลาและล้อเพื่อให้รถเคลื่อนที่ออกไปข้างหน้า โดยในปัจจุบันจะนิยมใช้หน่วยวัดหลักๆอยู่ 2 ค่านั่นก็คือ ฟุต-ปอนด์ (lbft) ซึ่งจะนิยมใช้กันในฝั่งอเมริกา และ นิวตัน-เมตร (Nm) ซึ่งนิยมใช้ในประเทศแถบยุโรป และประเทศในฝั่งเอเซีย รวมถึงประเทศไทยด้วย แรงม้าที่เครื่อง (BHP – Brake Horse Power) เป็นหน่วยที่ใช้วัดแรงม้าที่เกิดขึ้นบริเวณ Fly Wheel (ล้อตุนกำลัง) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่อยู่ติดกับเครื่องยนต์ ซึ่งการวัดด้วยค่านี้จะนิยมใช้ในประเทศแถบสหรัฐอเมริกา แรงม้า PS (PferdStarke) เป็นหน่วยวัดกำลังที่ได้รับความนิยมในประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี โดยค่า 1 PS หากเปรียบเทียบกับ HP แล้วก็อยู่ที่ 1 PS = 0.986 HP ซึ่งหากเปรียบเทียบกับค่า HP แล้วจะเห็นได้ว่าตัวเลขที่ได้นั้นจะสูงกว่าเล็กน้อย จึงทำให้ผู้ผลิตหลายเจ้านิยมใช้ค่า PS ในการโฆษณาสมรรถนะของเครื่องยนต์ รวมถึงประเทศไทยก็ใช้ค่านี้เช่นเดียวกัน แรงม้าที่ล้อ (WHP – Wheel Horse Power) เป็นหน่วยที่ใช้วัดแรงม้าที่เกิดขึ้นบริเวณ “ล้อรถ” โดยการใช้อุปกรณ์วัดที่เรียกว่า ไดโน่ (Dyno) ซึ่งค่านี้เองคือตัวเลขที่แท้จริงที่รถคันนั้นๆสามารถส่งกำลังลงสู่พื้นถนนได้ ซึ่งทางทฤษฎีแล้วตัวเลข WHP ที่ได้มักจะน้อยกว่า BHP อยู่ราวๆ 7-15 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากต้องเสียกำลังในระบบเกียร์ และระบบส่งกำลังของตัวรถนั่นเอง กิโลวัตต์ (kW) เป็นอีกหนึ่งหน่วยวัดกำลังที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการเปรียบเทียบกำลังของเครื่องยนต์เป็นกำลังไฟฟ้าที่สามารถทำได้ โดย 1 กิโลวัตต์จะมีค่าเท่ากับ 1.341 แรงม้า (HP) แรงม้าและแรงบิด สองค่านี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ? แรงบิดจะบ่งบอกถึงอัตราเร่ง รวมถึงความสามารถในการบรรทุก ลากจูงของรถคันนั้นๆ ในขณะที่ แรงม้า จะเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความเร็วที่รถคันนั้นสามารถทำได้เป็นหลัก เวลาเลือกซื้อรถ ควรให้ความสำคัญกับ แรงม้า หรือ แรงบิด มากกว่ากัน ? หากคุณต้องการรถที่ให้อัตราเร่งที่ดี และในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการบรรทุกหรือลากจูงที่ดีเช่นเดียวกัน คุณควรให้ความสำคัญกับแรงบิด แต่ถ้าหากคุณเป็นคนขับรถเร็ว อยากได้รถที่ทำความเร็วสูงได้ดี และไม่มีความจำเป็นต้องบรรทุกสิ่งของหรือสัมภาระ ในกรณีนี้คุณอาจจะต้องให้ความสำคัญกับตัวเลข แรงม้า มาเป็นอันดับแรก ขอบคุณข้อมูลจาก : caranddriver.com/ Car variety