PMC Expert | Requirement for audit night shift.
927
post-template-default,single,single-post,postid-927,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-11.0,qode-theme-bridge,wpb-js-composer js-comp-ver-5.1.1,vc_responsive

Requirement for audit night shift.

Requirement for audit night shift.

สำหรับองค์กรเองจำเป็นต้องตรวจกะกลางคืนหรือไม่? ถ้าตรวจควรตรวจหัวข้อ หรือ ข้อกำหนดอะไรบ้าง?

สำหรับองค์กรที่ขอการรับรองมาตรฐาน  IATF16949   ในการทำ   Manufacturing Process Audit  จำเป็นต้องตรวจทุกกะการผลิต

Requirement   ที่เกี่ยวข้อง

(Requirement: 9.2.2.3 Manufacturing Process Audit :Within each individual audit plan, each manufacturing process shall be audited on all shifts where it occurs, including the appropriate sampling of the shift handover)วม

 

สำหรับหัวข้อที่ควรจะต้องตรวจหลักๆคือ


1.การประชุมหรือการสื่อสารระหว่างกะ

Requirement   ที่เกี่ยวข้อง

7.4 Communication


2. ตรวจสอบตัวแทนด้านคุณภาพ ว่าใครคือต้วแทนด้านคุณภาพของแต่ละกะ และ ตัวแทนด้านคุณภาพทราบหรือไม่ว่าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมีอะไรบ้าง

Requirement   ที่เกี่ยวข้อง

 5.3.2 หน้าที่ความรับผิดชอบ และอำนาจการตัดสินใจ สำหรับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และการดำเนินการไขป้องกันการเกิดซ้ำ
a) หยุดการส่งมอบและหยุดการผลิตเพื่อแก้ไขปัญูหาคุณภาพหมายเหตุ บางอุตสาหกรรมไม่สามารถหยุดการผลิตได้ทันทีต้องกักกันไว้และป้องกันไม่ให้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ชุดที่ได้รับผลกระทบให้ลูกค้า
b) ความรับผิดชอบแก้ไขป้องกันการเกิดซ้ำได้รับรายงาน มั่นใจว่าไม่ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดให้ลูกค้าได้ชี้บ่งเเละกักผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีแนวโน้มไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดไว้
c) การดำเนินการผลิตทุกกะการทำงานจะต้องมีบุคคลที่รับผิดชอบเพื่อความสอดคล้องตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์


3. ตรวจสอบการตั้งค่าเครื่องจักรและการการตรวจสอบงานก่อนเริ่มการผลิต  เนื่องจากการตรวจกะส่วนใหญ่จะเข้าไปตรวจตอนต่อกะ เพราะฉะนั้นเราจะสามารถเห็นพนักงาน ตรวจสอบการตั้งค่าเครื่องจักร (Process condition) และการการตรวจสอบงานก่อนเริ่มการผลิต (Inspection) รวมถึงการตรวจความพร้อมของเครื่องจักรประจำวัน  (Machine daily check sheet )   รวมถึงการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือที่จะใช้ในการผลิตเช่น  Jig, Fixture,Gauge  เป็นต้น  บางกระบวนการต้องมีการ Confirm Pokayoke  ด้วย   Master/ Dummy (Ok, NG) สำหรับ Dummy  ก็ต้องมีการควบคุมและตรวจสอบ (Calibration/ Verification)

Requirement   ที่เกี่ยวข้อง

8.5.1.3 Verification of Job Set up: ตรวจสอบการตั้งค่าเครื่องจักร (Process condition) และการการตรวจสอบงานก่อนเริ่มการผลิต (Inspection)

8.5.1.5 Total Productive Maintenance: ความพร้อมของเครื่องจักรประจำวัน  (Machine daily check sheet )

8.5.1.6 Management of production tooling and manufacturing test, inspection tooling and equipment ความพร้อมของเครื่องมือที่จะใช้ในการผลิตเช่น  Jig, Fixture,Gauge

10.2.4 Error- Proofing: Confirm Pokayoke  ด้วย   Master/ Dummy (Ok, NG)


4.ตรวจสอบความพร้อมทางด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย  เช่น แสงสว่างในการทำงาน แสงสว่างในพื้นที่ตรวจสอบงาน อย่างผู้เขียนเคยไปตรวจอยู่โรงงานหนึ่งตอนกะกลางคืน สถานที่ทำงานมืดมากเพราะหลอดไฟที่ติดที่หลังคาเสียซึ่งยากต่อการเปลี่ยน พนักงานใช้ไฟฉายในการดู  Condition    และการจดรายงาน  ถ้าเราไม่ได้ตรวจกะกลางคืน ก็ไม่พบว่าสถานที่ทำงานมืดเกินไป

สำหรับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล รวมถึงรวมความปลอดภัยก็ควรที่จะต้องตรวจสอบด้วย ซึ่งทางผู้เขียนเองจากประสบการณ์ที่ออดิต ก็พบว่าหลายๆครั้งพนักงานกะกลางคืนไม่ยอมใส่อุปกรณ์ PPE  ตามที่องค์กรกำหนด

Requirement   ที่เกี่ยวข้อง

7.1.4 Environment for the operation of process


สำหรับเบื้องต้นข้อกำหนดที่สำคัญที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบกะตาม Listด้านบน   แต่ว่าระหว่างการตรวจอาจเจอประเด็นอื่นๆอีก ก็สามารถให้ข้อบกพร่องตามที่หลักฐานการพบ เช่น พบว่า  Control plan  กับการควบคุมที่หน้างานจริงไม่สอดคล้องกันก็สามารถให้   NC  ข้อกำหนดเรื่อง 8.5.1.1  Control plan  หรือพบว่าพนักงานไม่ใส่งานเสียในกะบะแดง ก็สามารถให้   NC  ข้อกำหนดเรื่อง 8.7  Control of nonconforming output เป็นต้น

 

ผู้เขียน

สุขุม รัตนเสรีเกียรติ

IATF16949 Certified Auditor